ปฐมบทฟุตบอลไทยภายใต้รัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ พ.ศ. 2443 – 2475

Authors

  • กรุงไท นพรัตน์
  • โอฬาร ถิ่นบางเตียว

Keywords:

สมบูรณาญาสิทธิราชย์, ฟุตบอลไทย, เศรษฐศาสตร์การเมือง, สัญญะ

Abstract

บทความเรื่อง ปฐมบทฟุตบอลไทยภายใต้รัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ พ.ศ. 2443 - 2475 เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ เรื่องเศรษฐศาสตร์การเมืองของฟุตบอลไทย โดยมีวัตถุประสงค์ศึกษาประวัติศาสตร์ของฟุตบอลไทยในช่วงภายใต้รัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ พ.ศ. 2443 - 2475 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้แนวคิดเกี่ยวกับสัญญะ และกรอบการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์แนวเศรษฐศาสตร์การเมือง ผลการศึกษาปรากกฏว่า รัชกาลที่ 6 โปรดให้ก่อตั้ง “สมาคมฟุตบอลแห่งกรุงสยาม” ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2459 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ชายหันมาเล่นกีฬามากขึ้น และตั้งทีมชาติฟุตบอล “คณะฟุตบอลสำหรับชาติสยาม” เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 การพระราชทานตราพระมหา-พิชัยมงกุฎให้กับทีมชาติสยามเพื่อประดับบนเสื้อทีมชาติ และหมวกสำหรับนักกีฬาทีมชาติโดยเฉพาะ อันเป็นการใช้สัญญะทางวัตถุที่สะท้อนการเป็นภาพตัวแทนของสถาบันกษัตริย์ที่พระราชทานให้กับตัวแทนของชาติซึ่งชาติก็คือ สถาบันกษัตริย์ และยุติบทบาททางสัญญะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475            The article on Thailand’s football introduces under the Absolute Monarchy in 1900-1932 is a part of Thailand’s football political economy dissertation. An objective of this study is the advent of using signed studies on the Thailand’s football under the Absolute Monarchy in 1900-1932 and the qualitative research, the symbol conceptual framework using and history of political economy framework analysis. The finding of the research was the concept of establishing the Football Association under the patronage of King Rama 6 on 25th April 1916 to support Thai men playing sport. On the 23rd June 1925, the national football team was found and called “Siamese National Football team” by King Rama 6 and he also bestowed the Great Crown of Victory or “Phra Maha Phichai Mongkut” upon the Siamese National Football team to decorated on shirts and hat especially for the national athlete as a Monarchy symbolism to them as the national representative which the crown is the nation before ended his role on the Siamese revolution of 1932.

References

กฤษณะ ท้วมเพ็ง. (2546). การศึกษาการจัดการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

จิรัฏฐ์ จันทะเสน. (2560). ถ้วยทองของหลวง. วันที่ค้นข้อมูล 12 มีนาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.siamfootball.com/index.php/ 2017-07-18-12-23-04/30-2017-07-19-13-12-32

จิรัฏฐ์ จันทะเสน. (2560). ถ้วยใหญ่แห่งสยามประเทศ. วันที่ค้นข้อมูล 12 มีนาคม 256, เข้าถึงได้จาก http://www.siamfootball.com/index. php/2017-07-18-12-23-04/33-2017-07-19-13-29-52

จิรัฏฐ์ จันทะเสน. (2560). ตราพระมหามงกุฎ. วันที่ค้นข้อมูล 12 มีนาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.siamfootball.com/index.php /2017-07-18-12-23-04/31-2017-07-19-13-17-17

จิรัฏฐ์ จันทะเสน. (2560). ทีมชาติสยาม กับ WORLD CUP. วันที่ค้นข้อมูล 12 มีนาคม 2561, เข้าถึงได้ จาก http://www.siamfootball.com/ index.php/2017-07-18-12-23-04/75-world-cup

จิรัฏฐ์ จันทะเสน. (2560). ทีมชาติสยามมีชัยเหนืออินโดจีนฝรั่งเศส. วันที่ค้นข้อมูล 12 มีนาคม 2561, เข้าถึงได้ จาก http://www.siamfootball. com/index.php/2017-07-18-12-23-04/72-2017-07-30-13-19-42

จิรัฏฐ์ จันทะเสน. (2560). สนามแห่งตำนานศุภชลาศัย. วันที่ค้นข้อมูล 12 มีนาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.siamfootball.com/index. php/2017-07-18-12-23-04/74-2017-07-30-13-37-41

จิรัฏฐ์ จันทะเสน. (2560). หมวกพระราชทานทีมชาติสยาม. วันที่ค้นข้อมูล 12 มีนาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.siamfootball.com/ index.php/2017-07-18-12-23-04/89-2017-08-02-07-08-09

จิรัฏฐ์ จันทะเสน. (2560). “หัวหน้าทีมชาติสยาม 2458" มจ.สิทธิพร กฤดากร. วันที่ค้นข้อมูล 12 มีนาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.siamfootball.com/index.php/2017-07-18-12-23-04/71-2458

จิรัฏฐ์ จันทะเสน. (2560). “อัศวินม้าขาว”. เจ้าพระยารามราฆพ. วันที่ค้นข้อมูล 12 มีนาคม 2561, เข้าถึงได้จาก https://www.siamfootball.com/ index.php/2017-07-18-12-23-04/63-2017-07-30-11- 28-45

จิรัฏฐ์ จันทะเสน. (2561, 12 มีนาคม). สัมภาษณ์.

ณัฐกร วิทิตานนท์. (2557). การเมืองกับฟุตบอลไทย. ในฟุตบอลไทย ประวัติศาสตร์ อำนาจ การเมืองและความเป็นชาย. กรุงเทพ: ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. (2523). ปรัชญาและวิธีการวิเคราะห์ของเศรษฐศาสตร์การเมือง. เอกสารประกอบการสอน. ชลบุรี: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรรณพิมล อังคศิริสรรพ. (2541) สรรนิพนธ์จาก มายาคติ (Mythologies) ของโรล็องด์ บาร์ตส์: บทแปล และบทวิเคราะห์เชิงวาทศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรพงศ์ ไชยฤกษ์. (2556). “วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์: มุมมองใหม่ในการวิจัยทางภาษาไทย”. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 8(1), 135-162.

สมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย. (2549). 90 ปี สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ. นครปฐม: สมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย.

สามชาย ศรีสันต์. (2561). ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมมติ.

สิตางค์ เจริญวงศ์. (2561). เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยทุนนิยมสัญญะ บทวิพากษ์แนวคิดหลังสมัยใหม่ของฌอง โบดริยารด์. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 4(2), 59–81.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.6 บ. 8/1, นิสิตออกซ์ฟอร์ต (นามแฝง), เรื่องความนิยมฟุตบอลในเมืองไทย. ลงวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2458.

Fairclough, N. (2010). Critical Discourse Analysis: The Critical Study of language (2nd ed.). New York: Longman.

Downloads

Published

2022-10-31