นักสอพลอประชาชนแห่งประชาธิปไตยเอเธนส์กับบทเรียนต่อประชาธิปไตยไทยร่วมสมัย

Authors

  • เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกำเนิดและความเสื่อมของระบอบประชาธิปไตยเอเธนส์ และพยายามทำความเข้าใจประเด็นปัญหาของประชาธิปไตยเอเธนส์ กับปัญหาของประชาธิปไตยร่วมสมัยในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ประชาธิปไตยเอเธนส์เกิดขึ้นภายใต้บริบทวัฒนธรรมแบบ พหุเทวนิยม สภาพทางภูมิรัฐศาสตร์ และการต่อสู้ทางการเมืองของกลุ่มอำนาจต่าง ๆ ในฐานะของระบอบการเมืองที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับอำนาจ หรือให้ความชอบธรรมกับคนบางกลุ่ม ขณะที่ความเสื่อมของประชาธิปไตยเอเธนส์ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากทั้งปัจจัยภายนอก คือ การรุกรานของนครรัฐเพื่อนบ้าน และปัจจัยภายใน อันได้แก่ ความอ่อนแอของนครรัฐ อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจของพลเมืองเอเธนส์ ที่มักถูกชักจูงโดยเหล่านักสอพลอประชาชน หรือ/และนักปลุกปั่นทางการเมือง จึงนำไปสู่การพิจารณาเปรียบเทียบกับประชาธิปไตยร่วมสมัยของไทยโดยเฉพาะในช่วงของความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างสีเสื้อจนถึงการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มนักเรียนนักศึกษาในปัจจุบัน ประชาชนหรือมวลชนส่วนใหญ่มักถูกชักจูงและโน้มน้าวโดยเหล่านักสอพลอประชาชนเหล่านี้ จนก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่ความล่มสลายของประชาธิปไตยไทยเช่นกัน            This research aims to study the origin and decay of Athenian Democracy, inquiring into the problems in Athenian Democracy and compare to democracy in Thailand. The results show that Athenian democracy occurred within a polytheism context as well as its unique geography. Under the political struggle between different groups, Athenian democracy originated as a political invention that created power and/or legitimacy to a privileged group. In terms of the demise of Athenian regime, the invasion of neighboring City-states served as one of the external factors, accompanied with the significant internal factors. Therefore, the result found that the weakness of the City-States was due to unbridled power of the people who were often persuaded by demagogues. This leads to a comparison with Thai democracy by the fact that Thai democracy is similar to Athens democracy which people are often easily persuaded by demagogues.

References

กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม. (2563). ใน ภาณุพงศ์ จาดนอก, ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล อานนท์ นำภา และพริษฐ์ ชิวารักษ์, ปรากฎการณ์สะท้านฟ้า. ม.ป.ท.: ธรรมศาสตร์และการ ชุมนุม.

ไชยันต์ ไชยพร. (ม.ป.ป.) รายงานการวิจัยเสนอในโครงการ 2500 ปีประชาธิปไตย กำเนิดและจุดจบของประชาธิปไตยยุคโบราณ - เอเธนส์: บริบท พฤติกรรม และโครงสร้างทางการเมือง. [เอกสารอัดสำเนา].

ฐิติกร สังข์แก้ว และอรรถสิทธิ์ พานแก้ว. (ม.ป.ป.). Shutdown. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ทักษิณ ชินวัตร. (2554). ทักษิณโฟนอิน เสื้อแดง ร้อยเอ็ด วันที่ 2 พฤษภาคม 2554. วันที่ค้นข้อมูล 10 กรกฎาคม 2561.เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=F9Anny8Kq84&t=181s

เพลโต. (2549). บทสนทนาของเพลโต: ยูไธโฟร อโพโลจี ไครโต. สมบัติ จันทรวงศ์ แปล. กรุงเทพฯ: คบไฟ.

เพลโต. (2553). โสกราตีส (พิมพ์ครั้งที่ 8). ส. ศิวรักษ์. แปล กรุงเทพ: ศยาม.

เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์. (2561). ความคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยในประเทศไทยจนถึง พ.ศ. 2475 : การก่อรูป, การประชันความหมาย และการผสมผสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุเทพ เทือกสุบรรณ (2557). กำนันสุเทพ ปราศรัยบนเวทีแยกปทุมวัน วันที่ 13 มกราคม 2557. วันที่ค้นข้อมูล 10 กรกฎาคม 2561, เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=KWsAc6kxxw8

อานนท์ นำภา. (2563). ข้อเรียกร้องระหว่างบรรทัด. ใน ภาณุพงศ์ จาดนอก, ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล อานนท์ นำภา และพริษฐ์ ชิวารักษ์. ปรากฎการณ์สะท้านฟ้า. ม.ป.ท.:ธรรมศาสตร์และการชุมนุม.

โฮเมอร์. (2552). โอดิสซี (พิมพ์ครั้งที่ 3). สุริยฉัตร ชัยมงคล แปล. กรุงเทพฯ: ทับหนังสือ.

Aristotle. (1935). Aristotle: The Athenian Constitution, The Eudemian Ethics, On Virtue and Vices. H. R. (Ed. & Tran.). London: Harvard University Press.

Aristotle. (2002). The Athenian Constitution. England: Penguin Classic.

Barker, E. (1960). Greek Political Theory: Plato and His Predecessors. London: Methuen and Co.

Boardman, J., & Poesen, J. (Eds.). (2006). Soil Erosion in Europe. West Sussex, England: John Wiley & Sons.

Copleston, F. (1976). A History of Philosophy Volume I: Greek and Rome (7th edition). London: Search.

Dillon, M., & Garland, L. (2000). Ancient Greece: Social and Historical Document from Archaic times to the Death of Socrates 800 – 399 B.C. London: Taylor & Francis.

Ehrenberg, V. (2011). From Solon to Socrates Greek history and civilization during the 6th and 5th centuries B.C. London: Routledge.

Finley, M. I. (1970). Early Greece: The Bronze and archaic ages. London: Chatto & Windus.

Frost, F. J. (Ed.). (1969). Democracy and the Athenians, Aspects of Ancient Politics. New Jersey: John Wiley & Sons.

Hesiod. (2006). Theogony, Works and Days, Testimonia. Most W. Glen (Ed. & Trans.). London: Harvard University Press.

Homer. (1991). The Iliad. Fagles, Robert. (Trans.). USA: Penguin Books.

Ovid. (1958). The Metamorphoses. Horace Gregory (Ed.). New York: Viking Press.

Plutarch. (1960). The Rise and Fall of Athens: Nine Greek lives. Ian Scott-Kilvert (Ed., Trans.). USA: Penguin Books.

Stace, W. T. (2014). A Critical History of Greek Philosophy. New York: Create Space Independent.

Thorley, J. (1996). Athenian Democracy. New York: Routledge.

Downloads

Published

2022-10-31