การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่เกษตรกรรมกึ่งอุตสาหกรรม ตำบลหนองชุมพลเหนือ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

The Participation to Environmental Conservation of Semi-Agricultural Industries Area in Tumbon Nongchumpolneau, Khaoyoi District, Phetchaburi

Authors

  • ณัชชานุช พิชิตธนารัตน์

Keywords:

การมีส่วนร่วม, การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, พื้นที่เกษตรกรรมกึ่งอุตสาหกรรม, จังหวัดเพชรบุรี

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับของการมีส่วนร่วมของประชาชน และ 2) เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่เกษตรกรรมกึ่งอุตสาหกรรม ในตำบลหนองชุมพลเหนือ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง 370 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้นำท้องที่จำนวน 10 คน, การประชุมกลุ่มๆ ละ 10 คน 7 กลุ่มใน 7 หมู่บ้าน และการจัดเวทีเพื่อนำเสนอข้อมูลสู่การกำหนดเป็นนโยบาย ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.75 และ 2) ประชาชนมีความตื่นตัวในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและ รักษาสิทธิของตนในการอยู่อาศัย โดยมีส่วนร่วม ดังนี้ (1) การมีส่วนร่วมในการคิด ศึกษาปัญหา แยกแยะปัญหา ค้นหาสาเหตุที่ชัดเจน และแสวงหาหนทางป้องกันปัญหา (2) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ รักษาความสะอาด (3) การมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม และ (4) การมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล  The objectives of this research were 1) to study the level of participation of the people and 2) to improve public participation in environmental conservation of semi-agricultural industries area in Tumbon Nongchumpolneau, Khaoyoi District, Phetchaburi. Research methodology was mixed method between survey research by using survey questionnaire with 370 samples and qualitative research by using documentary research, interviewed 10 local leaders, including focus group, groups of 10 people, 7 groups in 7 villages and setting up a public forum to present the information to determine policy. Research founded that 1) the level of participation in conservation the environment in the overall level was at high level, with an average of 3.75 and 2) the people were keen and kept the right to stay with the participation as follows: (1) participation to think, to identify problems, to search for causes and to seek for the ways to prevent the problems (2) participation in the practice by keeping clean. (3) participation in environmental protection, and (4) engaging in monitoring and evaluation.

References

กัญญารัตน์ สุดสอาด. (2547). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของตลาดริมน้ำดอนหวาย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ชนิดา เพชรทองคำ และคนอื่นๆ. (2554). การบริหารจัดการขยะและเทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา อบต.ไร่ส้ม จ.เพชรบุรี. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

ณัฏฐธิดา ชัยสงคราม และยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารร่มพฤกษ์, 35(2).

นิวัติ เรืองพานิช. (2546). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พัชรินทร์ สมบูรณ์ และพิเชษฐ์ ทรัพย์สิน. (2559). การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากการประกอบกิจการโรงโม่หินในตำบลหนองชุมพลเหนือ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม, 18(2), 10-21.

มยุรี ศรีอุดร. (2547). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บริเวณตลาดน้ำวัดลำพญา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ศรีสุดา จารยะพันธุ์. (2545). จากโยฮันเนสเบิร์กซัมมิทสู่ประเทศไทย : ทำอย่างไรจึงจะเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างจริงจัง. นวัตกรรม, 13(4), 19-21.

อรรครา ธรรมาธิกุล. (2550). การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมป่าชายเลนของประชาชน ตำบลหงาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. (1980). Effective Behavior in Organizations. New York: Richard D. Irwin Inc.

Downloads

Published

2022-10-31