การทดสอบทางสถิติและการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์การแปรผันของการเมืองต่อเศรษฐกิจครัวเรือน

A Statistical Testing and Coefficients of Variation Analysis on Politics upon Household Economy

Authors

  • หฤทัย มีนะพันธ์

Keywords:

การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง, รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือน, ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือน, สัมประสิทธิ์การแปรผัน

Abstract

บทความนี้นำเสนอทดสอบสมมติฐานทางสถิติถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจครัวเรือนในประเทศไทย ในช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระหว่างปี พ.ศ. 2556 และ ปี พ.ศ. 2560 โดยใช้ผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนทั่วราชอาณาจักร ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปีทั้งสองเป็นข้อมูลเพื่อทดสอบว่าเงินรายได้และค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนต่อเดือนทั้งประเทศและ 5 เขตภูมิภาค ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นหรือลดลงระหว่างปีทั้งสอง เป็นจำนวนสมมติฐานการทดสอบทั้งสิ้น 36 สมมติฐาน ณ ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติร้อยละ 0.05 ผลการทดสอบพบว่า สมมติฐานว่างถูกปฏิเสธทั้งหมด ยกเว้นในกรณีค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนต่อเดือนในภาคใต้ นอกเขตเทศบาล ที่ผลการทดสอบ ไม่สามารถปฏิเสธข้อสมมติฐานว่างได้ เมื่อพิจารณาถึงการกระจายและกระจุกตัวของข้อมูลจากสัมประสิทธิ์การแปรผัน พบว่าการกระจายของรายได้เฉลี่ยครัวเรือนของครัวเรือนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สูงกว่าภูมิภาคอื่นในประเทศ และครัวเรือนนอกเขตเทศบาลจะสูงกว่าในเขตเทศบาล ถึงร้อยละ 7.93 ในปี พ.ศ. 2556 แต่ลดลงเหลือร้อยละ 4.71 ในปี พ.ศ. 2560 โดยรวมทั้งประเทศ สัมประสิทธิ์ความแปรผันของรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือนไม่ได้สูงมากนัก ร้อยละ 1.23 ในปี พ.ศ. 2560 และ 1.31 ในปี พ.ศ. 2556 สำหรับค่าสัมประสิทธิ์การแปรผันของค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนของครัวเรือน พบว่า ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีค่าสูงกว่าภูมิภาคอื่นในประเทศ และครัวเรือนนอกเขตเทศบาลมีการแปรผันที่สูงกว่าในเขตเทศบาลร้อยละ 7.19 ในปี พ.ศ. 2556 และลดลงเหลือร้อยละ 4.39 ใน ปี พ.ศ. 2560 ค่าสัมประสิทธิ์การแปรผันครัวเรือนทั้งประเทศ เกือบคงที่ ร้อยละ 0.87 ใน ปี พ.ศ. 2560 และร้อยละ 0.89 ในปี พ.ศ. 2556 และเมื่อเปรียบเทียบกับทางด้านเงินรายได้ของครัวเรือน ค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนต่อเดือนมีลักษณะการกระจุกตัวมากกว่า ทำให้ความเหลื่อมล้ำมีน้อยกว่า  This paper presents a statistical hypothesis test on the changes in household economic conditions in Thailand, during the period of political change between 2013 and 2017, using the results of the survey of household socio-economic conditions throughout the Kingdom of the National Statistical Office to test whether income and expenditure per household per month across the country and five regions, both municipal and non-municipal, increase or decrease between the two years. It was a total of 36 hypotheses tested at a statistical confidence level of 0.05%. The null hypothesis was rejected entirely, except for the expense per household per month in the south, outside the municipality where the test results cannot reject the null hypothesis. When considering the distribution and concentration of the data from the coefficient of variation, it found that the distribution of median household income of households in Bangkok and its vicinities higher than other regions in the country and non-municipal households were 7.93% higher than in municipalities in 2013, but dropped to 4.71% in 2017 as a whole. The coefficient of variation of median household income per month was not very high, 1.23% in 2017 and 1.31 in 2013. The coefficient of variation of median household expenditure per household was found that in Bangkok and its vicinities were higher than other regions in the country and households outside the municipality. The household variable coefficient was 7.19% higher than in the municipalities in 2013 and dropped to 4.39 percent in 2017. The nationwide coefficient of variation was nearly stable at 0.87% in 2017 and 0.89% in 2013 and when compared to household income, expenditure per household per month was more concentrated that caused the inequality less.

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนในปี พ.ศ. 2556 และ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

หฤทัย มีนะพันธ์. (2562). การวิเคราะห์เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจครัวเรือนในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 17(2), 55-76.

Daron, A., Naidu, S., Restrepo, P., & Robinson, J. A. (2019). Democracy Does Cause Growth. Journal of Political Economy, 127(1), 47-100.

Barro, R. J. (1991). Economic Growth in a Cross Section of Countries. Quarterly Journal of Economics, 106(2), 407-443.

Barro, R. J. (1996). Democracy and Growth. Journal of Economic Growth, 1, 1-27.

Dalgaard, P. (2008). Introductory Statistics with R. New York: Springer-Science+Business Media.

Downloads

Published

2022-10-31