การแพร่กระจายของ Samonella ในเนื้อหมู

Prevalence of Salmonella in Pork

Authors

  • ผกามาศ ลี้วาทินแสนสุข
  • สุดสายชล หอมทอง

Keywords:

การปนเปื้อนในอาหาร, เนื้อสุกร, ซาลโมเนลลา, Salmonella

Abstract

          การศึกษาการแพร่กระจายของ Salmonella ในเนื้อหมูและหมูบด จำนวน 60 ตัวอย่าง ที่จำหน่ายในตลาดสดหนองมนและตลาดนัดหลังมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่เดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน 2549 พบการปนเปื้อนของ Salmonella จากตัวอย่างเนื้อหมูและเนื้อหมูบด 18 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 30.0 ของตัวอย่างทั้งหมด โดยเนื้อหมูตรวจพบเชื้อร้อยละ 23.3 (7/30) และในเนื้อหมูบดพบร้อยละ 36.7 (11/30) และพบว่ามีการแพร่กระจายของ Sallmonella รวม 8 ซีโรวาร์ โดยพบการปนเปื้อนของ S. Anatum (7) มากที่สุด รองลงมาได้แก่ S. Stanley (3), S. Albany (2) S. Derby (2), S. Agona (1), S. Typhimurium (1), S. 1, 4, 12: i :- (1) และ S. 6, 7 :-:- (1) ตามลำดับ การศึกษาในครั้งนี้พบว่าการแพร่กระจายของ Salmonella ในเนื้อหมูและเนื้อหมูบดจากตลาดสดหนองมนและตลาดนัด ในจังหวัดชลบุรี ดังนั้นจึงควรเลือกวิธีปรุงเนื้อสัตว์ให้เหมาะสมให้เหมาะสมก่อนที่จะบริโภคและควรเพิ่มมาตรการรักษาความสะอาดในขั้นตอนการผลิตเนื้อสัตว์จากฟาร์มจนถึงผู้บริโภคเพื่อช่วยผู้บริโภคปลอดภัยจากการบริโภค Salmomella จากเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ได้  The prevalence of Salmomella in pork and minced pork collected from the Nongmon market and the local market near Burapha University, Chonburi Province, was conducted from September to November, 2006. A total 60 samples (30 pork and 30 minced pork) was examined, 18 samples (30.0%) were found Salmonella positive. Among these positive samples, 23.3% (7/30) were detected in pork and 36.7% (11/30) were detected in minced pork samples. The Sallmonella isolates were S. Anatum (7), S. Stanley (3), S. Albany (2), S. Agona (1), S. Typhimurium (1), S. 1, 4, 12: i: - (1) and S. 6, 7 :-:- (1), respectively, Results of this study indicate that Salmonellae are widly spread in pork and minced pork samples obtained from the Nongmon and the local markets in Chonburi. Proper cooking of meat and improving of personal and meat hygiene in the meat production lines from farm to fork should be adopted to ensure the safety of meat and meat products for human comsumption.

References

ชิต ศิริวรรณ์, กัญยา อาษายุทธ, เอกภพ ทองสวัสดิ์วงศ์ และพัชรา เผือกเทศ. (2539). โรค Salmonellosis จากสุกรสู่คน. ใน เอกสารการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 34 สาขาสัตว์แพทยศาสตร์ (หน้า 419-423). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เนตรนภิส ธนนิเวศน์กุล, เรณู ทวิชชาติวิทยากุล, นฤมล ปิ่นประไพ และอังคารศิริ ดีอ่วม. (2548). การศึกษาสถานการณ์การขนส่ง การจำหน่วยและการวิจัยรูปแบบการจัดการความปลอดภัยในเนื้อหมูในขั้นตอนการวางจำหน่าย : ในตลาดสด. สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประภาส พัชนี. (2546). การติดตามตรวจสอบเชื้อซัลโมเนลลาของสุกรในโรงฆ่าสัตว์ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิทักษ์ น้อยเมล์, สุทธิพงศ์ อุริยะพงศ์สรรค์ และวราภรณ์ ศุกลพงศ์. (2548). การตรวจหาเชื้อซัลโมเนลล่าในเนื้อสุกรจากโรงฆ่าสัตว์เทศบาลนครขอนแก่นและโรงฆ่าสัตว์เทศบาลเมืองเลย. วารสารสัตวแพทยศาสตร์ มข, 15(1), 54-59.

วรรณา หาญเชาว์วรกุล, ดารินทร์ อารีย์โชคชัย, สุชาดา จันทสิริยากร, กมลชนก เทพสิทธา, บวรวรรณ ดิเรกโภค, สุทธนันท์ สุทธชนะ, อุบลรัตน์ นฤพนธ์จิรกุล, อมรา ทองหงส์, ชญาภา สาดสูงเนิน และ สำเริง ภู่ระหงษ์. (2548). รายงานการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ ประจำปี 2548. กรุงเทพฯ: กลุ่มเฝ้าระวังและสอบสวนโรค สำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรค.

Acha, P.N., & Szyfres, B. (2001). Salmonellosis in zoonosis and communicable diseases Common to man and animal. Pan American health organization. Washington, DC.: Scientific and Technical Publication No. 580.

Angkititrakul, S., Chomvarin, C., Chaita, T., Kanistanon, K., & Waethewutajarn, S. (2005). Epidemilolgy of antimicrobial resistance in Salmonella isolated from pork, chicken meat and humans in Thailand. Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health, 36(6), 1510-1515.

Axelsson, F., & Sorin, M.L. (1997). Transia Salmonella technical handbook. Sweden: Diffchamb.

Bangtrakulnonth, A., Pornreongwong, S., Pulsrikarn, C., Sawanpanyalert, P., Hendriksen, R.S. & Aarestrupt, F.M. (2004). Salmonella serovars from human and other sources in Thailand. Emerging infectious Diseases, 10(1), 1993-2002.

Bahnson, P.B., Fedorka-Cray, P.J., Ladely, S.R., & Mateus-Pinilla, N.E. (2006). Herd-level risk factors for Salmonella enterica subsp. Enterica in U.S. market pigs. Preventive Veterinary Medicine, 76, 249-262.

Downloads

Published

2021-07-14