การศึกษาการย่อยสลายของโนนิลฟีนอลโพลีเอทอกซิเลต

Study of the Degradation of Nonylphenol Polyethoxylate

Authors

  • นิศากร ทองก้อน
  • ปัทมา สารทอง
  • นวพร ปิยพจนากร

Keywords:

โนนิลฟีนอลโพลีเอทอกซิเลต, สารทำความสะอาด, สารลดแรงตึงผิว, โฟโตเฟนตัน, สารลดแรงตึงผิวชนิดไร้ประจุ , nonylphenol polyethoxylate, การย่อยสลาย

Abstract

          โนนิลฟีนอลโพลีเอทอกซิเลต (NPnEO; n=9) ใช้เป็นสารลดแรงตึงผิวชนิดไร้ประจุผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ในปัจจุบันนี้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการย่อยสลายสาร NPnEO ได้รับความสนใจในแง่ของความเป็นพิษ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นสารอินทรีย์ส่วนใหญ่ที่ปนเปื้อนในน้ำทิ้งอันเนื่องมาจากการใช้สาร NPnEO ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอย่างกว้างขวาง สาร NPnEO ไม่แสดงความเป็นพิษหรือผลกระทบทางด้านฮอร์โมนเอสโตรเจนเหมือนกับที่ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการย่อยสลายของสารมีผล การศึกษาปัจจัยบางประการที่มีผลกระทบต่อการย่อยสลายของสาร NP9EO ในสภาวะที่มีอากาศ เช่น แสง อุณหภูมิ เวลา และความเข้มข้นเริ่มต้นของสาร การตรวจวัดทางด้านปริมาณวิเคราะห์ของสาร NP9EO ด้วยเครื่องฟลูออเรสเซนต์ สเปกโตรโฟโตมิเตอร์ ซึ่งกำหนดความยาวคลื่นที่ใช้ในการกระตุ้นและการคายแสงเท่ากับ 227 และ 300 นาโนเมตรตามลำดับ ผลการทดลองแสดงว่าแสงจากหลอดเมอร์คิวรีมีผลต่อการย่อยสลายมากกว่า แสงปกติที่ได้รับในห้องทดลอง และในที่มืด ผลของอุณหภูมิที่ 90 ํC แสดงถึงร้อยละการย่อยสลายของสาร NP9EO ที่สูงที่สุดเท่ากับ 36.50±0.30 เวลามีผลกระทบต่อการย่อยสลายเพียงเล็กน้อย สาร NP9EO ที่ความเข้มข้นเริ่มต้นต่ำสาร NP9EO แสดงร้อยละการย่อยสลายที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการย่อยสลายสาร NP9EO ด้วยการใช้เฟนตันรีเอเจนต์และวิธีโฟโตเฟนตัน ความเข้มข้นของเฟนตันรีเอเจนต์ที่เหมาะสมได้จากการผสมสารละลายเฟอร์รัสไอออนและสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่มีความเข้มข้น 2 และ 1 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ วิธีโฟโตเฟนตันแสดงร้อยละการย่อยสลายของสาร NP9EO ที่สูงที่สุดเท่ากับ 97.92±0.68 ภายในเวลา 180 นาที  Nonylphenol Polyethoxylate (NPnEO; n=9) are used as nonionic surfactant in cleaning Products. Degradation products of NPnEO are currently concerned because of their toxicity. They are major contaminants of organic material in waste water because of extensive use of  NPnEO in cleansers. NPnEO have been demonstrated neither the toxicity nor estrogenic effects of their degradation products. Some factors that affect on the degradation of NP9EO in aerobic condition for example light, temperature, time and initial concentration have been studied. For quantitative analysis, NP9EO was measured by using Fluorescence spectrophotometer with the excitation and emission wavelength set at 227 and 300 nm, respectively. They results show that UV radiation from mercury lamp had the significant effect on the degradation higher than normal light and dark place. Effect of temperature at 90 ํC showed the highest of the percentage of degradation of NP9EO of 36.50±0.30. Time had slightly effected on the degradation. At low initial concentration, NP9EO showed increasing in the percentage of degradation. In addition, the optimum concentration of fenton reagent was obtained from mixing ferrous ion and hydrogen peroxide solution with a concentration of 2 and 1 mg/L, respectively. Photo-fenton method showed the highest percentage of degradation of NP9EO of 97.92±0.68 within 180 min.

References

สุรัตน์วดี จิระจินดา และนวลจรรณ ฟ้ารุ้งสาง. (2547) ฮอร์โมนจากสภาวะแวดล้อม. วารสารข่าวศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือน ปลูกพืชทดลอง, 15(1), 1-11.

ปริญญา อรุโณทยานันท์. (2005). Self assembly วิทยาการจากต้นแบบในธรรมชาติ. วิจัยและพัฒนาเภสัชกรรม. วันที่ค้นข้อมูล 27 เมษายน 2549, เข้าถึงได้จาก http://www.gpo.or.th/rdi/htmls/self.html

Ahel, M., Giger, W., Monar, E., & lbric, S. (2000). Determination of Nonylphenol Polyethoxy-lates and their Lipophilic Metabolites in Sewage Effluents by Normal phase High Performance Liquid Chromatography and Fluorescence Detection. Croatica Chemica Acta, 73(1), 209-227.

Be Bennis, D.T., Sullivan, C.A., Lee, H.B., Peart, T.E., & Maguire, R.J. (1997). Occurrence of Alkylphenols and Alkylphenol Mono-and Diethoxylates in Natural Waters of Laurentian Great Lakes Basin and the Upper St. Lawrence River. Journal of Environmental, 193, 263-275.

Cheng, C.Y., & Ding, W.H. (2002). Determination of Nonylphenol Polyethoxylates in Household Detergents by High Performance Liquid Chromatography. Journal of Chromatography A, 968, 143-150.

David, B. (2003). Human and Ecological Risk Assessment of Nonylphenol Polyethoxylate Based (NPE) Surfactants in Forest Service Herbicide Applications. Retrieved January 10, 2007, from https://bit.ly/3xzHTpf

Gota, R., Kubota, T., lbuki, Y., Kaji, K., & Goto, A. (2002). Degradation of Nonylphenol Polyethoxylates by Ultraviolet B Irradiation and Effects of their Products on Mammalian Cultured Cells. Journal of Photochemistry Chemistry, 22(3), 237-247.

Haber, F. & Weiss, J. (1932). On the catalysis of hydroperoxide. Naturwissenschaften, 20, 948-950

Lee, H-B., & Peart, T. (1995). Determination of 4-Nonylphenol in Effluent and Sludge from Sewage Treatment Plants. Analytical Chemistry, 67, 1976-1980.

Marcomini, A. M., & Giger, W. (1987). Simultaneous Determination of Linear Alkylphenol Polyethoxylates and Nonylphenol by High Performance Liquid Chromatography. Analytical Chemistry, 59, 1709-1715.

Downloads

Published

2021-07-14