องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของเมล็ดน้อยหน่าตายพราย

Authors

  • บุษราคัม สิงห์ชัย
  • อัจฉราพรรณ บุญสิทธิ์

Keywords:

น้อยหน่าตายพราย, ฤทธิ์ทางชีวภาพ, องค์ประกอบทางเคมี

Abstract

          น้อยหน่าตายพรายเป็นผลน้อยหน่าที่แห้งคาต้นก่อนสุก ถูกนำไปใช้ประโยชน์น้อยมาก งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งปอด และฤทธิ์ฆ่าเหาในหลอดทดลองของสกัดเมล็ดของน้อยหน่าตายพราย สกัดเมล็ดน้อยหน่าตายพรายด้วยเฮกเซน ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีในสารสกัดด้วยเทคนิค GC-MS ทดสอบฤทธิ์ต้าน เซลล์มะเร็งปอด (NCI-H187) ด้วยวิธี Rasazurin microplate assay (REMA) โดยมีอิลิปติซีน และดอกโซรูบิซิน เป็นสารควบคุมเชิงบวก และทดสอบฤทธิ์ฆ่าเหาของสารสกดัเฮกเซนในน้ำมันมะพร้าว 10% w/w สารสกัดเฮกเซนในน้ำมันถั่วเหลือง 10% w/w และน้ำมันเมล็ดน้อยหน่าตายพรายในน้ำมันมะพร้าว น้ำมันเมล็ดน้อยหน่าตายพรายในน้ำมันถั่วเหลือง ในอัตราส่วน 1:2 โดยมีน้ำมันเมล็ดน้อยหน่าสดในน้ำมันมะพร้าว น้ำมันเมล็ดน้อยหน่าสดในน้ำมันถั่วเหลือง เป็นสารควบคุมเชิงบวกและน้ำมันมะพร้าว 100% และน้ำมันถั่วเหลือง 100% เป็นสารควบคุมเชิงลบ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบ One-way ANOVA ด้วยเทคนิค Duncan ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 จากการวิเคราะห์ GC-MS ของสารสกัดเฮกเซนเมล็ดน้อยหน่าตายพรายมี oleic acid เป็นองค์ประกอบหลัก ปริมาณสูงที่สุดร้อยละ 50.62 รองลงมา ได้แก่ ethyl oleate n-hexadecanoic acid ethyl linoleate ethyl exadecanoate toluene ethyl octadecanoate 2,3-dihydroxypropyl elaidate และ (E)- methyl- 9-octadecenoate ตามลำดับ ที่ความเข้มข้น 50 µg/ml สารสกัดเฮกเซนแสดงฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งปอดร้อยละ 76.74 ค่า killing time (KT50) ของ 10%w/w สารสกัดเฮกเซนในน้ำมันมะพร้าว เมล็ดน้อยหน่าตายพรายต่อน้ำมันมะพร้าว (1:2) และเมล็ดน้อยหน่าตายพรายต่อน้ำมันถั่วเหลือง (1:2) ดีที่สุด เท่ากับ 46.7±2.9 53.3±2.9 และ 63.3±7.6 นาที ตามลำดับและไม่มีความแตกต่างกันแต่แตกต่างจากสารควบคุมเชิงบวกและเชิงลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05           Unripe fruits of Annona squamosa Linn. were unripe before mature, and there were a few useful. This research aimed to study chemical constituents, anti-lung cancer and anti-head lice in vitro of extract of unripe fruit seeds of A. squamosal Linn. The extract was successively extracted with hexane. The study of chemical constituents was measured by GC-MS. Antitumor activity toward human small cell lung carcinoma (NCI-H187) by using Rasazurin microplate assay (REMA) method and positive controls were ellipticine and doxorubicin. Anti-head lice effect in vitro were tested with 10% w/w hexane extract in coconut oil, 10% w/w hexane extract in soy bean oil, seed oil of unripe fruits in coconut oil, and seed oil of unripe fruits in soy bean oil with 1:2 of rate. The seed oil of ripe fruit in coconut oil and soy bean oil were used as positive controls, but coconut oil and soy bean oil were used as negative controls. The statistics of this research were percentage, mean, standard deviation and comparison with One-way ANOVA by Ducan test at 0.05 significant. The hexane extract had major constituent as oleic acid which showed the highest quantitative value of 50.62 percentage, following ethyl oleate, n-hexadecanoic acid, ethyl linoleate, ethyl exadecanoate, toluene, ethyl octadecanoate, 2,3-dihydroxypropyl elaidate and (E)- methyl- 9- octadecenoate, respectively, by GC-MS analysis. At concentration of 50 µg/ml, hexane extract showed high activity against NCI-H187cell line which the value of 76.74 percentage. The killing time (KT) of head lice effect of 10% w/w hexane extract in coconut oil, seeds oil of unripe fruits in coconut oil, and seed oil of unripe fruits in soy bean oil with 1:2 of rate showed highest activities of 46.7±2.9 53.3±2.9and 63.3±7.6 minute, respectively. They were not significantly at 0.05, but they were differently with other tests with significant of 0.05.

Downloads