การประเมินขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาตเิขาคิชฌกูฏ (ส่วนรอยพระพุทธบาทพลวง)

Authors

  • หิรัญ หิรัญรัตนพงศ์
  • เอกนรินทร์ ธนะกิจไพรินท์
  • จิรัชยา ชำนาญไพร
  • ปิยนาถ ขุนศรี

Keywords:

ความสามารถในการรองรับ, อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, ผลกระทบจากการท่องเที่ยว

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินขีดความสามารถ และกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการรองรับนักท่องเที่ยวต่อพื้นที่ในการจัดกิจกรรมนันทนาการของอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ (ส่วนรอยพระพุทธบาทพลวง) เพื่อเสนอแนวทางในการจัดการผลกระทบที่เหมาะสมต่อการรองรับนักท่องเที่ยวให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพื้นที่ โดยทำการศึกษาในด้านกายภาพ ด้านนิเวศ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านจิตวิทยา โดยผลการศึกษาพบว่า การประเมินขีดความสามารถในการรองรับด้านกายภาพ จากการศึกษาในพื้นที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม เมื่อเปรียบเทียบจำนวนนักท่องเที่ยวจำนวน 10 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550-2559 พบว่าในปี พ.ศ. 2559 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่อวันมากที่สุดคือ 23,786 คน (ระดับค่ามาตรฐานคือ 21,334 คน/พื้นที่/ช่วงเวลาหนึ่ง) นั่นคือ จำนวนนักท่องเที่ยวเกินขีดความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่ ส่วนปริมาณขยะมูลฝอยจากการสำรวจจุดเก็บขยะมูลฝอย จำนวน 61 จุด พบว่า ทั้งด้านกลิ่นและด้านภูมิทัศน์ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าขีดความสามารถในการรองรับได้ ประเด็นด้านนิเวศวิทยาพบว่า ร้อยละการปกคลุมรากไม้ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าขีดความสามารถในการรองรับได้ ในส่วนร่องรอยการเด็ดหักของกิ่งไม้มีค่าเฉลี่ยผลกระทบอยู่ในระดับน้อย และร่องรอยความเสียหายของลำต้นไม้ใหญ่ผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนประเด็นด้านสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่า ปริมาณห้องน้ำมีการใช้ประโยชน์เกินขีดความสามารถในการรองรับอยู่ในระดับรุนแรง แต่ปริมาณเก้าอี้นั่งพักมีการใช้ประโยชน์ในระดับต่ำ สำหรับประเด็นด้านจิตวิทยา จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยว จำนวน 421 คน พบว่าบริเวณพื้นที่ทางเดินและพื้นที่ส่วนรอยพระพุทธบาทพลวง มีความรู้สึกแออัดในระดับมากเกินขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวด้านจิตวิทยาที่ระดับนัยสำคัญ 0.05           This research has the objective to asses the carrying capacity and criteria the standard in accommodation tourist to areas in organizing recreation of the Kao Kitchakute National Park (Praputthabaht Plung imprint area). The recommend guidelines for appropriation effected management to accommodation tourist in level that does not cause damage by study in physical, ecological, facilities and psychological. According of study results, the assessment of asses carrying capacity and criteria the standard in accommodation tourist to areas in organizing recreation. When it’s been compared in 10 years, since 2007-2016, that 2016 the maximum tourists per day are 23,786 persons (the average standard is 21,334 persons/area/time). That is the amount of exceeded capacity in accommodation tourist to areas. The amount of solid waste from survey of the collection of solid waste 61 areas that’s found the smelling and landscapes are below acceptable levels, that can be acceptable. An ecological issues, that;s been found the percentage of the covered roots still below acceptable as well. The traces of cutting stems in the low averages and traces from the damage of big tree that effected in medium averages. The facility issue is bee found that restrooms have been used in amount of exceeded capacity in radical averages. But, the amount of benches these’re been used in low averages for psychological issues. From the random of example tourists around 421 persons, that have been around the footpaths and Praputhabaht Plung imprint areahave a feeling of congestion in radical averages of tourist standard accommodation in psychological of significant at 0.05.

Downloads