แนวทางการบริหารจัดการมูลฝอย กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเกาะขวาง จังหวัดจันทบุรี

Authors

  • เอกนรินทร์ ธนะกิจไพรินท์
  • พิม แสนบุญศิริ
  • สุรนาถ สิทธิวารี

Keywords:

มูลฝอยชุมชน, การจัดการมูลฝอย, การมีส่วนร่วมของชุมชน, เทศบาลตำบลเกาะขวาง

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการมูลฝอยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนเทศบาล ตำบลเกาะขวาง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งกำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 390 คน ตามสูตรคำนวณกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แบบสัมภาษณ์ได้แก่ คณะผู้บริหาร สมาชิกเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการและพนักงานเทศบาล จำนวน 53 ชุด และแบบสอบถามสำหรับประชาชนในชุมชนเทศบาลตำบลเกาะขวาง จำนวน 390 ชุด โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ซึ่งผลการศึกษาพบว่าประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเกาะขวาง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ส่วนใหญ่มีวิธีการจัดการมูลฝอยด้วยตนเอง แต่ยังไม่ให้ความสำคัญกับการคัดแยกประเภทมูลฝอย โดยมีการทิ้งมูลฝอยตามภาชนะที่จัดหาไว้เองในครัวเรือนก่อนจะนำไปกองทิ้งไว้ตามที่สาธารณะ หรือนำไปเผา ซึ่งมูลฝอยส่วนใหญ่ที่เกิดในชุมชนเป็นประเภทมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยย่อยสลายจึงส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ส่วนของเทศบาลได้มีการคาดการณ์ปริมาณมูลฝอยที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตจากจำนวนประชากรแฝงที่เพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้ทางเทศบาลต้องมีแนวทางบริหารจัดการด้วยการเพิ่มจำนวนภาชนะรองรับมูลฝอยที่มีฝาปิดมิดชิด และรวมไปถึงจัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชุมเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยอย่างยั่งยืนตามหลักวิชาการ           The purpose of this study is to solid waste management practices and public participation in Koh-Khwang Municipality, Mueng, Chanthaburi. The designated sample was based on the Yamane formula for 390 people. The evaluation form is divided into two parts: 53 copies of interview forms for administrators, members of municipalities, Heads of government agencies and municipal employees. The questionnaires of 390 copies were used for the public in the Koh-Khwang Municipality. The data was analyzed in statistical analysis by frequency distribution, percentage and average. Results show that, most people in Koh-Khwang Municipality, Mueng, Chanthaburi have self-management methods, but they did not priority to separate of sorting waste. Such as, throwing solid waste in containers that’s been organized in household before put them together at public or to burn outdoors. Most of the waste in the community is solid waste and biodegradable which affects to the quality of the environment. In the municipality, there is a forecast that the amount of solid waste will increase in future due to the increase in latent population that affects to the municipality must have a management approach by increasing the number of containers with the lid closed. And, the municipality also provides training to educate people in the community about solid waste management in accordance with academic principles.

Downloads