โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแบบการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Causal relationship models of learning styles for grade 12 students

Authors

  • รัตนาภรณ์ มีรักษา

Keywords:

การวัดผลทางการศึกษา, นักเรียนมัธยมศึกษา, การศึกษาขั้นมัธยม, แบบเรียน

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแบบการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวคิดของกราซาและไรช์มานน์ (Grasha & Reichmann, 2006) แบบการเรียนของนักเรียน 6 แบบ ได้แก่ แบบแข่งขัน แบบร่วมมือ แบบมีส่วนร่วม แบบพึ่งพา และแบบอิสระ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2545 จำนวน 1,000 คน โมเดลประกอบด้วยตัวแปรอิสระ 4 ตัว ได้แก่ ลักษณะส่วนบุคคล สภาพครอบครัว สิ่งแวดล้อมทางการเรียน และแรงจูงใจในการเรียน ตัวแปรตามเป็นแบบการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแบบการเรียนและมาตรวัดแบบการเรียนของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS คำนวณค่าสถิติพื้นฐาน และใช้โปรแกรม LISREL 8.50 ตรวจความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ   ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแบบการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง 6 แบบ ได้แก่ แบบการเรียนแบบแข่งขัน แบบร่วมมือ แบบหลีกเลี่ยง แบบมีส่วนร่วม แบบพึ่งพา และแบบอิสระ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์ตั้งแต่ 0.40 ถึง 50.37, ค่า p ตั้งแต่ .13 ถึง 1.00, ดัชนี GFI เท่ากับ 1.00, ดัชนี AGFI ตั้งแต่ .97 ถึง 1.00, ดัชนี CFI เท่ากับ 1.00, ค่า SRMR ตั้งแต่ .002 ถึง .019, ค่า RMSEA ตั้งแต่ .00 ถึง .01 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ ตั้งแต่ .36 ถึง .99 แสดงว่า ทุกโมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี   ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อทุกแบบการเรียน คือ แรงจูงใจในการเรียน โดยส่งผลในทิศทางบวกกับแบบการเรียนแบบแข่งขัน แบบร่วมมือ แบบมีส่วนร่วม และแบบอิสระ แต่ส่งผลในทิศทางลบต่อแบบการเรียนแบบหลีกเลี่ยง และแบบพึ่งพา แรงจูงใจในการเรียนมีอิทธิพลทางตรงมากที่สุดต่อแบบการเรียนแบบหลีกเลี่ยง แบบอิสระ และแบบแข่งขัน สภาพครอบครัวมีอิทธิพลทางตรงมากที่สุดต่อแบบการเรียนแบบพึ่งพา และแบบร่วมมือ สิ่งแวดล้อมทางการเรียนมีอิทธิพลมากที่สุดต่อแบบการเรียนแบบมีส่วนร่วม        The purpose of this research was to develop and check the construct validity of the causal relationship models of learning styles of Grade 12 students, based on the concepts of Grasha & Reichmann (2006). Six models were involved, namely: Competitive Learning Style, Collaborative Learning Style, Avoidance Learning Style, Participant Learning Style, Dependent Learning Style, and Independent Learning Style. The sample consisted of 1,000 Grade 12 students from schools under the Juris diction of the Office of the Basic Education Commission, academic year 2002. The models consisted of four independent variable groups: Personal Characteristics, Family Status, Learning Environment, and Learning Motivation. The dependent variable was Learning Style. The research instruments included a questionnaire on factors influencing learning styles, and a Learning Styles scale. Data were analyzed through SPSS and LISREL 8.50.  The results indicated that all six models were consistent with empirical data, with chi-square goodness of fit tests ranging from 0.40 to 50.37, p from .13 to 1.00, GFIs at 1.00, AGFI from .97 to 1.00, CFIs at 1.00, SRMR from .002 to .019, RMSEAs from .00 to .01, and R-squares from .36 to .99.    The variable that had direct influence on Learning Style in all models was Learning Motivation, Other positive influences were found with Competitive Learning Style, Collaborative Learning Style, Participant Learning Style, and Independent learning Style. On the other hand, Learning Motivation negatively influenced Avoidance Learning Style, and Dependent Learning Style. The highest direct influence on Avoidance Learning Style, Independent Learning Style, and Competitive Learning Style, was Learning Motivation. The highest direct influence on Dependent Learning Style, and Collaborative Learning Style, was Family Status. The highest direct influence on Dependent Learning Style was Learning Environment.

Downloads

Published

2021-04-30