โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

A causal relationship model of factors affecting learning with happiness for grade 8 students

Authors

  • แพรวพรรณ์ พิเศษ

Keywords:

การเรียนรู้, การศึกษา, การวัดผลทางการศึกษา, นักเรียนมัธยมศึกษา

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างและความตรงข้ามกลุ่มของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุขของกิติยวดี บุญซื่อ และคณะ (2540) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดภาคตะวันออก ปีการศึกษา 2547 จำนวน 840 คน โมเดลประกอบด้วยตัวแปรอิสระ 5 ตัว ได้แก่ ลักษณะครู ลักษณะพ่อแม่ผู้ปกครอง ลักษณะเพื่อนในกลุ่ม ลักษณะนักเรียน และการจัดการเรียนการสอน ตัวแปรตามเป็น การเรียนรู้อย่างมีความสุข เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข และแบบสอบถามการเรียนรู้อย่างมีความสุข วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS และใช้โปรแกรม LISREL 8.50 ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 40.89 ที่องศาอิสระเท่ากับ 83 ค่าความน่าจะเป็น เท่ากับ 1.00 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .99 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .98 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ .01 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .00 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการเรียนรู้อย่างมีความสุขได้ร้อยละ 87 ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน ลักษณะครู ลักษณะนักเรียน ลักษณะเพื่อนในกลุ่ม และลักษณะพ่อแม่ผู้ปกครอง ตามลำดับ ผลการตรวจสอบความตรงข้ามกลุ่มชี้ให้เห็นว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างอื่นที่มีลักษณะเทียบเคียงกันได้        The purpose of this research was to develop, validate, and cross-validate a causal relationship model of factors affecting learning with happiness for Grade 8 students, based on the Happy Learning theory of Kitiyavadee et al. (1997). The sample consisted of 840 Grade 8 students in academic year 2004, attending schools under the jurisdiction of the Office of the Basic Education Commission in the Eastern Region. The model consisted of five independent variables: characteristics of teachers, parents, friends, students, and instructions. The dependent variable was learning with happiness. SPSS was employed for descriptive statistics; LISREL 8.50 was used to analyze the causal relationship model.   Results indicated that the model matched empirical data. Goodness of fit measures included a chi-square value of 40.89 with 83 degrees of freedom, p = 1.00; Goodness of Fit Index (GFI) = .99; Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) = .98; Standardized Root Mean Square Residual (SRMR) = .01; and Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = .00. The variables in the model were found to account for 87 percent of the dependent variable’s variance. Variables which were statistically significant, having a direct effect on learning with happiness, were ranked as follows: instruction, characteristics of teachers, ‘characteristics of students, characteristics of friends, and characteristics of parents, respectively. Cross-validation indicated that the causal relationship model of factors affecting learning with happiness could be generalized to other comparable samples.

Downloads

Published

2021-04-30