แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของอาจารย์คณะศึกษาศาสตรืในมหาวิทยาลัยของรัฐ

A causal relationship model of organizational citizenship behavior of educational faculties in public universites

Authors

  • สฎายุ ธีระวณิชตระกูล

Keywords:

พฤติกรรมองค์การ, องค์การ, อาจารย์มหาวิทยาลัย, ความพอใจในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์การ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ตามแนวคิดเรื่องพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของออร์แกน (Organ, 1987) กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ 13 แห่ง ปีการศึกษา 2547 จำนวน 438 คน ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วยตัวแปรแฝง 7 ตัว ได้แก่ ลักษณะงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพ บรรยากาศองค์การ ความพึงพอใจในงาน ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามตัวแปรแฝงทั้ง 7 ตัว วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS และใช้โปรแกรม LISREL 8.50 พัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ   ผลการวิจัยปรากฏว่า แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยของรัฐที่ปรับเป็นแบบจำลองทางเลือกมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์เท่ากับ 131.55 ที่องศาอิสระเท่ากับ 177 ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 1.00 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .00 ตัวแปรทั้งหมดในแบบจำลองทางเลือกที่พัฒนาขึ้น สามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ ได้ร้อยละ 79 ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ ได้แก่ ความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การ ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ ได้แก่ 1) ความพึงพอใจในงานซึ่งมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านความผูกพันต่อองค์การ 2) บรรยากาศองค์การ 3) ภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพซึ่งมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านความพึงพอใจในงาน        Research objectives were to develop and validate a causal relationship model of organizational citizenship behavior of education faculties in public universities, based on the concepts of Organ (1987). The sample consisted of 438 educational faculties in thirteen public universities, in the academic year 2004. There were seven latent variables, namely: job characteristics, human resource management, transformational leadership, organizational climate, job satisfaction, organizational commitment, and organizational citizenship behavior. The research instrument was a questionnaire involving the seven latent variables. Data were analyzed with descriptive statistics, using SPSS, and with LISREL 8.50 to develop and validate the causal relationship model.   Results indicated that the adjusted model was consistent with empirical data. Goodness of fit measures were found to be: X2 = 131.55, df = 177, p = 1.00, RMSEA = .00. The variables in the adjusted model accounted for 79% of the variance of organizational citizenship behavior. Variables having a statistically significant direct effect on organizational citizenship behavior were job satisfaction and organizational commitment. Variables having a statistically significant indirect effect on organizational citizenship behavior were: 1) job satisfaction indirectly affecting through organizational commitment; 2) organizational climate, and 3) transformational leadership indirectly affecting through job satisfaction.

Downloads

Published

2021-04-30