การศึกษาตัวแปรที่สัมพันธ์กับอัตราการตอบกลับและความจริงใจในการตอบแบบสอบถามบนอินเตอร์เน็ต

An investigation of variables related to response rate and response sincerity on internet questionnaires

Authors

  • นิติภาคย์ วิจิตรวงศ์
  • สุชาดา กรเพชรปาณี
  • สมสิทธิ์ จิตสถาพร

Keywords:

แบบสอบถาม, อินเตอร์เน็ต

Abstract

การตอบกลับแบบสอบถามบนอินเทอร์เน็ตเชื่อว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัย การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตาม 2 ตัวคือ อัตราการตอบกลับและความจริงใจในการตอบแบบสอบถามบนอินเทอร์เน็ต กับตัวแปรอิสระ 3 ตัว คือ การแจ้งให้ทราบล่วงหน้า จำนวนครั้งในการติดตาม และระยะเวลาในการติดตามที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2550 จำนวน 1400 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามที่เป็นเว็บเพจ เรื่องความคิดเห็นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อปัญหาการติดยาเสพติดของเยาวชนในปัจจุบัน และจดหมายนำส่งทางอีเมล์  ผลการวิจัยปรากฏว่า การแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทำให้อัตราการตอบกลับแบบสอบถามบนอินเทอร์เน็ตสูงขึ้น 9.5% การเพิ่มจำนวนครั้งในการติดตามมีความสัมพันธ์กับอัตราการตอบกลับที่เพิ่มขี้น ดังนี้ การติดตามครั้งที่ 1 มีอัตราการตอบกลับสูงที่สุด (7.8%) การติดตามครั้งที่ 2 มีอัตราการตอบกลับ 5.6% การติดตามครั้งที่ 3 มีอัตราการตอบกลับ 3.1% และการติดตามครั้งที่ 4 มีอัตราการตอบกลับ 1.3% นอกจากนี้อัตรการตอบกลับยังมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระยะเวลาในการติดตามที่แตกต่างกัน มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างการแจ้งให้ทราบล่วงหน้ากับจำนวนครั้งในการติดตามต่ออัตราการตอบกลับ และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างจำนวนครั้งในการติดตามกับระยะเวลาในการติดตามต่อัตราการตอบกลับ แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระทั้งหลายกับความจริงใจในการตอบแบบสอบถามบนอินเทอร์เน็ต       Responses to internet-based questionnaires are thought to relate to a number of factors. In this study, the relationship between two dependent variables, response rate and the apparent sincerity of responses to internet questionnaires, were investigated with regard to three independent variables: whether or not would-be respondents were notified in advance of a coming questionnaire (pre-notification), number of follow-up contacts, and connection time. The sample consisted of 1,400 undergraduates studying at Burapha University in 2007. Research instruments involved an internet-based questionnaire on the drug addiction problems of young people, and an email letter.  It was found that pre-notification increased the response rate by 9.5%. Increasing the number of follow-up contacts had a variable relationship to response rate: the first follow-up yielded the most responses (7.8%), the second 5.6% the third 3.1%, and the fourth 1.3%. Response rate had a positive relationship to connection time. Interactions were found between pre-notification and number of follow-up contacts regarding response rate, and also between number of follow-ups and connection time. No relationships were found between the independent variables and response sincerity.

Downloads

Published

2021-04-28