ธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยของรัฐ : พหุกรณีศึกษา

Good governance of public university: Multi case study

Authors

  • รัตนะ บัวสนธ์

Keywords:

ธรรมรัฐ, สถาบันอุดมศึกษา, การบริหาร

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทยสองแห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยของรัฐในเขตภาคเหนือและมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างละ 1 แห่ง วิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้แบบแผนวิจัยแบบบูรณาการซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณนำแล้วแล้วใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามหลัง ผู้ให้ข้อมูลเป็นบุคลากรในมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งจำนวนทั้งสิ้น 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามความคิดเห็นและการสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่ามหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งมีธรรมาภิบาลอยู่ในระดับปานกลางทั้งภาพรวมและองค์ประกอบ 5 ด้าน ยกเว้นด้านประสิทธิผลที่อยู่ในระดับมาก แต่ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งในด้านความโปร่งใส ความเป็นธรรมและการมีส่วนร่วมยังมีอยู่น้อย สำหรับในองค์ประกอบด้านการมีอิสระ ความมีประสิทธิผลและความคล่องตัวอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบระหว่างมหาวิทยาลัยผลการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพก็พบว่า มีความแตกต่างกันบางองค์ประกอบและบางประเด็นย่อย จากผลการวิจัยนี้มหาวิทยาลัยของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องความเร่งดำเนินการป้องกันและแก้ไขส่วนที่ขาดธรรมาภิบาลให้เกิดธรรมาภิบาลในที่สุด          The purpose of this research was to study and compare governance practices as found in two public Thai universities, located in northern and northeastern regions of the country. A mixed-method, integrated design (quantitative before and qualitative after: Quan-Qual) was employed. The participants were 226 stakeholders from both universities. Questionnaires and semi-structured interviews were used to collect data. Results from the quantitative part of the study indicated that the two public universities were generally at the medium level in overall good governance, and on five related components, while being at the high level on effectiveness. In the qualitative part of the study results were different, indicating the universities to be generally at a low level on three components of good governance, transparency, equity, and participation, while at a satisfactory or good level on the components of freedom, effectiveness, and flexibility. Differences on some governance components and issues became more apparent when specific comparisons were made between the two universities.          Given the results from this study, it is apparent that universities and related organizations need to make an effort to detect weak governance components, and support appropriate corrective actions.

Downloads

Published

2021-04-28