อิทธิพลของความรุนแรงในชุมชนที่มีต่อความล้มเหลวทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

The effect of exposure to community violence on the academic failure of grade 9 students

Authors

  • เตือนจิต กฤตลักษณ์
  • เสรี ชัดแช้ม
  • สมหมาย แจ่มกระจ่าง

Keywords:

การเรียน, การวัดผลทางการศึกษา, นักเรียนมัธยมศึกษา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความรุนแรงในชุมชนและปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อความล้มเหลวทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยสร้างกรอบแนวคิดจากทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของแบนดูรา (Bandura, 1977, 1986) และผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง โมเดลที่เสนอประกอบด้วยตัวแปรแฝง 4 ตัว ได้แก่ ความรุนแรงในชุมชน พฤติกรรมก้าวร้าว อาการซึมเศร้า และความล้มเหลวทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2549 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี และ ฉะเชิงเทรา จำนวน 337 คน เลือกมาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถามลักษณะของนักเรียน แบบสอบถามการพบเห็นเหตุการณ์ความรุนแรงในชุมชน มาตรวัดพฤติกรรมก้าวร้าว และมาตรวัดภาวะซึมเศร้าในนักเรียน การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานด้วยโปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL  ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ปรับแก้แล้วสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 11.27 ที่องศาอิสระเท่ากับ 25 ความน่าจะเป็นเท่ากับ .99 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.99 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 และ ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.00 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความล้มเหลวทางการเรียนได้ร้อยละ 10 แสดงว่าการพบเห็นเหตุการณ์ความรุนแรงในชุมชนมีอิทธิพลต่อความล้มเหลวทางการเรียนของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านพฤติกรรมก้าวร้าวและอาการซึมเศร้าของนักเรียน            The purpose of this research was to develop and validate a causal relationship model of community violence and personal factors thought to be related to the academic failure of Grade 9 students, based on the Social Learning Theory of Bandura (1977, 1986) and related literature. The proposed model consisted of four latent variables: community violence, aggressive behavior, depression, and academic failure. The sample, derived by mean of multi-stage random sampling, consisted of 337 Grade 9 students in schools under the educational service area office of Chon Buri and Chachoengsao during the academic year 2006. The research instruments included a student Characteristic questionnaire, community violence exposure questionnaire, an aggressive behavior scale, and a student depression scale. Data were analyzed by descriptive statistical analysis through SPSS, and causal relationships investigated with LISREL.  Results indicated that the adjusted model was consistent with empirical data. Goodness of fit indicators included a chi-square value of 11.27 with 25 degrees of freedom, p = .99, Goodness of fit index 0.99; Comparative fit index 1.00; Root mean square error of approximation 0.00. The variables in the model accounted for 10 percent of academic failure. Exposure to community violence had a statistically significant indirect impact on academic failure by affecting through aggressive behavior and depression.

Downloads

Published

2021-04-28