การบูรณาการพหุประสาทสัมผัสร่วมกับการดูแลทารกแบบแกงการูต่อความสามารถทางปัญญาในทารกวัย 2 เดือน

Authors

  • วัชรี นุ่มประเสริฐ
  • พีร วงศ์อุปราช
  • พีร วงศ์อุปราช
  • ปิยะทิพย์ ประดุจพรม

Keywords:

การบูรณาการ, พหุประสาทสัมผัส, การดูแลทารก, แบบแกงการู, พฤติกรรมการมอง, ความสามารถทางปัญญา

Abstract

          การบูรณาการพหุประสาทสัมผัสร่วมกับการดูแลทารกแบบแกงการูได้ถูกพัฒนาขึ้นบนรากฐานของ 3 องค์ความรู้เกี่ยวกับช่วงเวลาแห่งโอกาส วงจรการหลับ-การตื่น และทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ร่วมกับแบบจำลองนิเวศวิทยาเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางปัญญาในทารกแรกเกิด การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการบูรณาการพหุประสาทสัมผัสร่วมกับการดูแลทารกแบบแกงการูต่อความสามารถทางปัญญาในทารกวัย 2 เดือน โดยศึกษาจากพฤติกรรมการมองสิ่งคุ้นชินเมื่อทารกอายุ 1 และ 2 เดือน กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกแรกเกิดคลอดปกติ อายุครรภ์ครบกำหนด และสุขภาพดี จำนวน 46 คน จัดเข้ากลุ่มทดลอง จำนวน 24 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 22 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองได้รับการส่งเสริมการบูรณาการพหุประสาทสัมผัสร่วมกับการดูแลทารกแบบแกงการูอย่างต่อเนื่องนาน 2 เดือน กลุ่มควบคุมได้รับการส่งเสริมการดูแลทารกแบบแกงการูอย่างต่อเนื่องนาน 2 เดือน วัดเวลามองรวมและการมองซ้ำจากการทดสอบการมองสิ่งคุ้นชิน วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติทดสอบที สถิติทดสอบเอฟและการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียวแบบวัดซ้ำผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเวลามองรวม จำนวนการมองซ้ำ ระหว่างทารกกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเวลามองรวมและจำนวนการมองซ้ำน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการศึกษาสนับสนุนว่า แผนการบูรณาการพหุประสาทสัมผัสร่วมกับการดูแลทารกแบบแกงการูที่พัฒนาขึ้นนี้มีความเหมาะสมในการเสริมสร้างความสามารถทางปัญญาในทารกแรกเกิด              The multisensory integration with kangaroo mother care (MSI-KMC) program was deliberated seriously base on three dimensions: window of opportunity, sleep pattern in accordance with circadian rhythm, and Piaget’s theory and ecological model, to enhance cognitive performance among newly born infants. This study aimed to elucidate the effects of multisensory integration with kangaroo mother care onto the early cognitive performance among two-month old infants. Visual habituation behavior was applied to determine such performance at the corrected age of one and two months old. Forty-six healthy term infants were recruited and assigned randomly into either experimental group or control group. The experimental group consisted of twenty four respondents receiving MSI-KMC intervention whereas the control group consisted of twenty two respondents receiving KMC intervention. Both groups practiced such assigned intervention for two months long interval. Consequently, total look duration and number of habituation trials were assessed and analyzed. Statistical t-test, F-test and one way repeated measure MANOVA were employed to test research hypotheses. The findings emerged accordingly. The experimental group had lower mean scores of the total look duration and the number of habituation trials than the control group significantly at p<.01. The MSI-KMC program, therefore, could potentially be used to stimulate and advocate infants’ cognitive performance development.

Downloads