การสะท้อนการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ในบริบทห้องเรียนโควต้ามุสลิม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Authors

  • อาฟีฟี ลาเต๊ะ

Keywords:

คณิตศาสตร์, การสะท้อนการเรียนรู้, ห้องเรียนโควตามุสลิม, โพลและการสำรวจความคิดเห็น, อินโฟกราฟิก

Abstract

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ในบริบทห้องเรียนโควต้ามุสลิมโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 38 คน และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 39 คน โดยเสนอผ่านวงจรการสะท้อนตามแนวทางของ Gibbs (1988) ผลการจัดการเรียนรู้ซึ่งได้ดำเนินการออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การทำโพล การสำรวจความคิดเห็น และการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ทำให้ผู้เรียนเข้าใจในขั้นตอน หรือกระบวนการดำเนินงานในการทำโพล หรือการสำรวจความคิดเห็น หรือสถิติพรรณนาต่าง ๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี และยังเกิดความผ่อนคลายในการเรียนรู้ ได้ปฏิบัติงานจริง อีกทั้งยังสามารถสร้างอินโฟกราฟิกเพื่อนำเสนอผลโพล และผลการสำรวจความคิดเห็นอีกด้วย ผู้สอนได้วิเคราะห์ว่าการจัดการเรียนรู้ใน 2 ปีที่ผ่านมาเห็นความหลากหลายในการกำหนดหัวข้อการทำโพล หรือการสำรวจความคิดเห็น และยังมีหัวข้อที่เป็นประเด็นเชิงพื้นที่อีกด้วย เช่น โพลประเด็นวัคซีน การก่อการร้าย นิกะฮ์ (แต่งงาน) ในวัยเรียน หรือการสำรวจความคิดเห็นประเด็นนโยบาย Green and Clean Campus การบริจาค หรือการละหมาด เป็นต้น และยังพบปัญหาบางประการ อาทิ ปัญหาในการทำงานกลุ่ม ภาระงานของผู้เรียน ผู้สอนเสนอการแก้ปัญหาการทำงานกลุ่มด้วยการเพิ่มทางเลือกในการทำงานเดี่ยว หรืองานคู่เพื่อจะได้เกิดความภูมิใจในชิ้นงานของตนเองมากขึ้น หรือทำในประเด็นที่สนใจต่างจากเดิมได้ ส่วนปัญหาภาระงานในรายวิชาอื่น อาจจะต้องเสนอต่อผู้บริหารเพื่อกำหนดภาระงานร่วมกัน หรือลดภาระงานที่มากจนเกินไปในบางรายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำเนินการในรายวิชาอื่น ๆ ได้อย่างเท่าเทียมกันผู้สอนได้วางแผนว่ายังจะดำเนินการในรูปแบบข้างต้นแต่แก้ปัญหาที่ยังเป็นจุดด้อยในการดำเนินการสอนใน 2 ปีที่ผ่านมาให้น้อยลงกว่าเดิม และคิดว่าผู้สอนคณิตศาสตร์น่าจะสามารถดำเนินการในรูปแบบข้างต้น หรือคล้าย ๆ กันเพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีในรายวิชาคณิตศาสตร์ อีกทั้งผู้เรียนยังสามารถทำโพล หรือสำรวจความคิดเห็นนำไปสู่การนำเสนอด้วยอินโฟกราฟิกที่สามารถสื่อสารไปยังผู้รับสารได้อย่างชัดเจนอีกด้วย             This research article aims to reflect teaching of mathematics courses in the context of Muslim quota classroom at Demonstration school, Prince of Songkla University. The target groups were 38 and 39 Mattayomsuksa 5 students in the academic year 2017-2018 with offering through the reflection cycle according to Gibbs’s (1988) guidelines. The results of the learning management which were carried out in 3 parts, namely polling, survey and basic data analysis, it made students understood the steps or operated procedures for making polls, survey, or various descriptive statistics in the analysis of initial data as well, it also made students relaxed in learning and have had actually worked until to create infographics and to present poll results and survey results as well. The instructor analyzed that learning management in the past two years saw a variety in determining the topic of polling or survey, meanwhile the student could present topics that were area issues, such as vaccine, terrorism, Nikah (marriage) issues in school age or survey of opinions on policy issues of Green and Clean Campus, donations, or prayers, etc. However, the instructor found some problems in learning management such as problems in group work, workload of students which were offered solutions to group work problems by adding a single work option or a pair of jobs in order to be proud of their work or could do on different points of interest. As for the workload problems in other courses might had to propose to determine together or reduced excessive workloads in some courses so that students could perform in other courses equally. The instructor has planned that it will continue to perform in the above format, but could adjust the problem that reflect a weakness in the teaching process in the past two years, and think that the mathematics instructor should be able to perform in the above or similar ways to make the students have a positive attitude in mathematics, and students can also make polls or explore another ideas, leading to presentations with infographic that can communicate clearly to recipients.

Downloads