คุณลักษณะของผู้ประกอบการสร้างสรรค์ และกิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการ สร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์

Authors

  • วรัทยา ธรรมกิตติภพ
  • กรปภา เจริญชันษา

Keywords:

ผู้ประกอบการสร้างสรรค์, กิจกรรมเตรียมความพร้อม, เศรษฐกิจสร้างสรรค์

Abstract

          การเสริมสร้างผู้ประกอบการสร้างสรรค์ถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นในระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตและมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษากิจกรรมการเตรียมความพร้อมที่เหมาะสมเพื่อการเป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาคุณลักษณะความคิดสร้างสรรค์ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 24 คน เอกสารที่เกี่ยวข้องจำนวน 60 เล่ม เครื่องมือ ได้แก่ แบบวิเคราะห์องค์ประกอบ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 การพัฒนากิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 8 คน เครื่องมือได้แก่ (ร่าง) กิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ฯ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ระยะที่ 3 การตรวจสอบกิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 15 คนเครื่องมือ ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมในการนำกิจกรรมเตรียม ความพร้อมฯ ไปปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์          ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะผู้ประกอบการสร้างสรรค์ประกอบด้วย 5 ประการ ได้แก่ การเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด การให้ความสำคัญกับความคิด ความสนุกสนาน ร่าเริง ความทะเยอทะยานสูง และการไม่หยุดนิ่ง 2) กิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการเป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาอุดมศึกษา มีทั้งสิ้น 10 กิจกรรม การจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมฯ จำแนกตามภาคเรียนและชั้นปี พบว่า ชั้นปีที่ 1 มี 1 กิจกรรม ได้แก่ การบรรยายพิเศษทางวิชาการ ชั้นปีที่ 2 มี 3 กิจกรรม ได้แก่ การคิดแบบสร้างสรรค์ การบรรยายพิเศษทางวิชาการ และกิจกรรมเปิดโลกทรรศน์กว้างไกล ชั้นปีที่ 3 มี 8 กิจกรรม ได้แก่ การฝึกอบรมประกอบอาชีพอิสระ การบรรยายพิเศษทางวิชาการ การแนะแนวด้านอาชีพ การฝึกงานระยะสั้น โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับสถานประกอบการ โครงการพี่พบน้อง กิจกรรมค่ายพัฒนาอาชีพ และ การสอนโดยใช้กรณีศึกษา ชั้นปีที่ 4 มี 3 กิจกรรม ได้แก่ การฝึกอบรมประกอบอาชีพอิสระ การบรรยายพิเศษทางวิชาการ และการแนะแนวด้านอาชีพ 3) การตรวจสอบกิจกรรมการเตรียมความพร้อมฯ พบว่า กิจกรรมที่ออกแบบและสร้างขึ้น มีความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้จัดเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรในระดับมากถึงมากที่สุด            Building creative entrepreneurs is a heart of the new businesses building for the  country’s healthy economy. Aimed to develop the creative entrepreneur preparation activities for university students, this research was divided into 3 stages. Firstly, it studied the characteristics of creative entrepreneur, where the data informants were 24 experts, 60 relevant documents, and the instruments that comprised of the component analysis form, the interview form, and the data content analysis. Secondly, the research developed activities for readiness to be the readiness the creative entrepreneur from the 8 experts, upon which the instruments were the drafted preparation activities, the questionnaire and the data content analysis by medians and interquartile ranges. Thirdly, the research examined the preparation activities from the 15 expert informants, to which the instruments were the activity properness assessment form and the data analysis by medians and interquartile ranges.           Research results revealed that; 1) the entrepreneurial creativity consisted of 5 characters, namely, endless learning, thinking significance, enjoyment, high ambitions and ceaseless pacing. 2) the entrepreneurial creativity preparation activities were of 10 in number. Based on the viewpoints of the informants and as classified by study semester and years, there were one activity for the 1st year students, which was the special academic lecture, three activities for the 2nd year students, which were creative thinking, the special academic lecture and the vision opening activities, eight activities for the 3rd year students, which were the independent -job training, the special academic lecture, career counseling, short practicum, the student exchange with enterprises, the senior-meeting-with-juniors project, the career development camps and the learning through case-studies, and three activities for the 4th year students, which were the independent-job training, the special academic lecture, and career counseling. 3) the assessment over the preparation activities showed their high to highest use feasibility.

Downloads