ปัญหาและอุปสรรคการบังคับใช้พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504

Authors

  • เลอชิตา สุรกิจบวร
  • เกรียงศักดิ์ พินทุสรศรี
  • บวรวิทย์ เปรื่องวงศ์

Keywords:

ปัญหา, อุปสรรค, การบังคับใช้, โบราณสถาน, พรบ.โบราณสถาน

Abstract

          วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการการบังคับใช้พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาในการบังคับใช้พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 จากการศึกษาพบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับบทนิยามคำว่าโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ที่ไม่ชัดเจนและไม่เหมาะสมทำให้เกิดอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมาย ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้ที่ไม่ชัดเจนและไม่เหมาะสมปัญหาเกี่ยวกับบทบัญญัติกำหนดโทษ บทลงโทษไม่ชัดเจนและไม่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันปัญหาจากการที่ชุมชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการดูแล บูรณะ และซ่อมแซมโบราณสถานในการใช้สิทธิฟ้องร้องต่อหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบ และปัญหาการควบคุมการค้าสิ่งเทียมโบราณวัตถุ และสิ่งเทียมศิลปวัตถุตามประกาศของกรมศิลปากร          ผู้ศึกษาขอเสนอแนะว่าจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับบทนิยามโดยกำหนดความหมายกำหนดบทนิยามให้ละเอียดยิ่งขึ้นให้ง่ายต่อการตีความเพื่อเป็นประโยชน์ในการบังคับใช้กฎหมาย อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้พระราชบัญญัติควรแบ่งขอบเขตอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานให้ชัดเจนและเหมาะสม ปัญหาเกี่ยวกับบทบัญญัติกำหนดโทษ บทลงโทษควรเพิ่มโทษทางปกครอง ปัญหาจากการที่ชุมชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการดูแล บูรณะ และซ่อมแซมโบราณสถานควรให้สิทธิประชาชนในการฟ้องร้องต่อหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบเพื่อเป็นประโยชน์ในการดูแล รักษาโบราณสถาน ปัญหาการควบคุมการค้าสิ่งเทียมโบราณวัตถุ และสิ่งเทียมศิลปวัตถุเห็นควรให้กรมศิลปากรออกประกาศควบคุมการค้าสิ่งเทียมโบราณ วัตถุ และสิ่งเทียมศิลปวัตถุ โดยปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งการรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ และเพื่อคุ้มครองดูแล บูรณะ และซ่อมแซมโบราณสถานสืบไป           This thesis aimed to study problems and obstacles on enforcement of the historic Sites, Antique Artifact and National Museum Act, having objectives to analyze problems of legal enforcement on the Archaeological Sites, Antique, Artifact and National Museum Act of 1961. From the study, it was found that there were problems relating with definition of “archaeological sites, antique and artifact” which were not clear and not appropriate; it caused obstacles concerning legal enforcement; problems concerning provisions of punishment; the penalty is not appropriate for the actual condition occurring at present time and problems from the fact that the community does not participate in taking care, restoring and repairing archaeological sites in using right to prosecute against working units, or responsible persons.           The researcher recommended that there shall be modification of law in the part of definition, by defining meaning, defining the definition in more detail, to be easy for interpretation for benefit in legal enforcement. The authority and duty of employees in enforcing the Act; there should be clear and appropriate dividing of authority and duty scope of each working unit. Regarding problems regarding provisions of punishment, in the penalty, there shall be increasing of administrative penalty. Problems from the fact that the community does not participate in taking care, restoring and repairing archaeological sites, people should receive right in prosecution against the working units, or responsiblepersons for benefit in taking care of archaeological sites, problems of trading control of artificial antique and artificial artifact. It is recommended for the Fine Arts Department to issue the notification for trading controlling of artificial antique and artificial artifact, by improving and amending the Archaeological Sites, Antique, Artifact and National Museum Act of 1961, for the benefit of taking care of archaeological sites, antique and artifact and protecting, taking care, restoring and repairing archaeological sites forever.

Downloads