การวิเคราะห์ศักยภาพทางการแข่งขันน้ำตาลทรายของไทยในตลาดอาเซียน

Authors

  • ภัคจิรา ทวีกาญจน์

Keywords:

การวิเคราะห์, การแข่งขัน, น้ำตาลทราย, ตลาดอาเซียน

Abstract

             ประเทศไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (RCA) ของการส่งออกน้ำตาลทรายไปยังตลาดอาเซียน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบเท่ากับ 35.37 ในปี พ.ศ.2559 เพิ่มขึ้นเป็น 77.29 ในปี พ.ศ. 2561 และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 77.29 ขณะที่ประเทศบราซิลมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ(RCA) ลดลงอย่างต่อเนื่องโดยดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบเท่ากับ 2.44 ในปี พ.ศ.2559 ลดลงเหลือ 1.66 ในปี พ.ศ.2561 โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสามปีเท่ากับ 2.01 ขณะที่ส่วนแบ่งตลาด(MS) พบว่า ประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดน้ำตาลทรายในอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกันและอยู่ในระดับสูงมากทั้ง 3 ปี โดยเท่ากับ45.39 ในปี พ.ศ.2559 เพิ่มขึ้นเป็น 62.50 ในปี พ.ศ.2561 เฉลี่ยสามปีเท่ากับ 55.85 ส่วนประเทศบราซิลมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเท่ากับ 11.50 ในปี พ.ศ. 2559 เป็น 10.20 ในปี พ.ศ.2561 เฉลี่ยสามปีเท่ากับ 10.20           นอกจากนี้พบว่าความสามารถในการแข่งขันทางการค้า (TC) มีแนวโน้มเช่นเดียวกับการวิเคราะห์ดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (RCA) และส่วนแบ่งตลาด (MS) โดยประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือในปี พ.ศ.2559 ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันทางการค้า (TC) เท่ากับ 0.70 และเพิ่มขึ้นเป็น 0.85 ในปี พ.ศ. 2561 เฉลี่ยสามปีเท่ากับ 0.78 ส่วนประเทศบราซิลมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องคือเท่ากับ 0.55 ในปี พ.ศ.2559 เหลือ 0.29 ในปี พ.ศ.2561 เฉลี่ยสามปีเท่ากับ 0.39             Thailand has continuously increased Revealed Comparative Advantage (RCA) index for sugar exports to the ASEAN market. Comparative advantage index is 35.37 in 2016, increasing to 77.29 in 2018 and having an average of 77.29. Brazil has consistently reduced Revealed Comparative Advantage (RCA) index, the comparative advantage index was 2.44 in 2016 and reduced to 1.66 in 2018, an average of three years equal to 2.01. While in terms of Market Share (MS), it is found that Thailand has continuously increased its sugar market share in ASEAN and is at a very high level for the whole 3 years, which is equal to 45.39 in 2016 and increased to 62.50 in the 2018, an average of three years equal to 55.85. Brazil is likely to continue to decline, which is equal to 11.50 in 2016 and is reduced to 10.20 in 2018, an average of three years equal to 10.20.           In addition, it was found that Trade Competitiveness (TC) has the same trend as Revealed Comparative Advantage (RCA) index and Market Share (MS). Thailand has a tendency to increase continuously, namely in 2016, Thailand has Trade Competitiveness (TC) equal to 0.70 and increased to 0.85 in 2018, an average of three years equal to 0.78. Brazil is likely to continue to decline, which is equal to 0.55 in 2016 and down to 0.29 in 2018, an average of three years equal to 0.39.

Downloads