ปัญหาทางกฎหมายในการปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่ต้องมีประกันหรือหลักประกันในชั้นสอบสวน

Authors

  • ทิพย์รัตน์ กุหลาบแก้ว
  • ศิวพร เสาวคนธ์
  • คมสัน สุขมาก

Keywords:

ปล่อยชั่วคราว, หลักประกัน, ชั้นสอบสวน, Inquiry Stage

Abstract

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันหรือหลักประกันในชั้นสอบสวน โดยศึกษากฎหมายไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการไม่ได้รับโอกาสในการปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหา เมื่อเทียบกับฐานะทางเศรษฐกิจของแต่ละบุคคล เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้ผู้ต้องหาได้รับโอกาสในการปล่อยชั่วคราวอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่นำหลักประกันมาเป็นข้อพิจารณาประกอบ          ผลการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันการปล่อยชั่วคราวในชั้นสอบสวนของประเทศไทย มักประสบปัญหาว่า ผู้ต้องหาที่มีความประสงค์ขอปล่อยชั่วคราวจะต้องมีประกันหรือหลักประกัน ทำให้คนด้อยโอกาสที่มีประวัติดีแต่มีฐานะยากจน ไม่มีหลักประกันอย่างเพียงพอต้องถูกคุมขังระหว่างสอบสวน ขาดโอกาสการได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ซึ่งถือเป็นการขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพ เมื่อพิจารณาระหว่างคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีกับคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีและแม้กระทรวงยุติธรรมจะได้จัดตั้งกองทุนยุติธรรมขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น แต่การขอความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรมจะต้องผ่านการการพิจารณาของคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ทำให้เกิดความล่าช้า ส่งผลให้ผู้ต้องหาไม่ได้รับความเป็นธรรมเท่าที่ควร อีกทั้งการมีกองทุนยุติธรรมก็มิได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เนื่องจากการขอปล่อยชั่วคราวยังคงต้องใช้หลักประกัน โดยเงื่อนไขดังกล่าวถูกบัญญัติ ไว้ในประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 (4) ว่า “...หลักประกันไม่น่าเชื่อถือ” และขั้นตอนการขอปล่อยชั่วคราวโดยไม่ใช้หลักประกันในชั้นสอบสวน ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 111 ยังไม่มีความชัดเจนถึงหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่ใช้หลักประกัน เพื่อใช้ประกอบดุลพินิจสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราว นอกจากนี้รัฐยังไม่มีมาตรการหรือบทกำหนดโทษในกรณีที่เมื่อผู้ต้องหาได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกันและต่อมาผู้ต้องหาหลบหนีไป          ข้อเสนอแนะการวิจัยเห็นควรให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในประเด็นเงื่อนไขในการพิจารณาการสั่งคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นสอบสวนและให้มีการกำหนดขั้นตอน หลักเกณฑ์ และวิธีการการขอปล่อยชั่วคราวโดยไม่ใช้หลักประกันในชั้นสอบสวนให้มีความชัดเจน รวมทั้งให้มีการกำหนดบทลงโทษกรณีที่ผู้ต้องหาในคดีอาญาได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันหรือหลักประกันในชั้นสอบสวนแล้วหลบหนีไป           The objectives of this Research are to study concepts, theories and law relating to temporary release without bail or collateral during the inquiry stage, by studying Thai law in comparison to foreign law, as well as analyzing problems with being denied of opportunities of temporary release of the alleged offenders in comparison to economic status of each individual, for finding approaches to solving the problems, in order that the alleged offenders shall equally enjoy opportunities of temporary release without taking collateral into consideration.          The results of the Research find that, presently, temporary release during the inquiry stage in Thailand usually experiences problems where the alleged offenders, who wishes to enjoy temporary release, must present bail or collateral, resulting in underprivileged people, who have good criminal records but are financially poor and do not have sufficient collateral, being subjected to be in custody during the inquiry stage and denied of opportunities of temporary release, cases which breach the principle of rights and liberties, where economic status of financially rich people and financially poor people is taken into consideration. And even though Ministry of Justice has already established the Justice Fund in order to solve the aforementioned problems, application for assistance from the Justice Fund needs to undergo contemplation of the Justice Fund Committee, resulting in delay, preventing the alleged offenders from being treated fairly as they should be. Moreover, the Justice Fund has not solved roots of the problems, because application for temporary release is still required collateral, whereby the said condition is prescribed in the Criminal Procedure Code, Section 108/1 (4), that “... the collateral is unreliable”, and the processes of application for temporary release without collateral during the inquiry stage under the Criminal Procedure Code, Section 111, still lack clarity, in terms of rules and methods of application for temporary release without collateral, as to be taken into consideration for exercising discretion in issuing orders on application for temporary release. Apart from this, the State does not have measures or prescribe punishment in a case where the alleged criminal offender has been granted with temporary release without bail or collateral during the inquiry stage, and subsequently escapes the judicial system.          The recommendations of the Research are to amend the Criminal Procedure Code in the point of conditions to be taken into consideration for issuing temporary release during the inquiry stage, and provide with clear processes, rules and methods of application for temporary release without collateral during the inquiry stage, as well as prescribe punishment in a case where the alleged criminal offender has been granted with temporary release without bail or collateral during the inquiry stage, and then escapes the judicial system.

Downloads