ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA) ของประเทศไทย

Authors

  • ภัทรมนัส ศรีตระกูล

Keywords:

ปัจจัยเชิงสาเหตุ, การประเมินผล, นักเรียน, ระดับนานาชาติ

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในรูปแบบของการวิจัยเพื่อการปรับปรุงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการประเมิน PISAของประเทศไทย 2) กำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยในการศึกษาครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสารงานวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและสังเคราะห์เอกสารรายงานผลการศึกษา PISA ของ OECD และ สสวท. ขั้นตอนที่ 2 สัมภาษณ์ผู้บริหารโครงการ PISA ประเทศไทย เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ และศึกษานิเทศก์รับผิดชอบงาน PISA รวม 19 คน ขั้นตอนที่ 3 นำผลการศึกษาปัจจัยในขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 ไปสังเคราะห์เพื่อออกแบบเครื่องมือจัดเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สพฐ. โรงเรียนเทศบาล โรงเรียนเอกชน วิทยาลัยสังกัดอาชีวศึกษา และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย รวม 11 แห่ง ขั้นตอนที่ 4 สอบถามถามความคิดเห็นและเจตคตินักเรียนอายุ 15 ปี จำนวน 240 คน และ ขั้นตอนที่ 5 สัมภาษณ์นักเรียนที่เคยเข้าร่วมการสอบ PISA ในโครงการ PISA 2018 จานวน 20 คน ในส่วนที่ 2 ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมการศึกษาไทยโดยใช้หลัก SWOT Analysis ขั้นตอนที่ 2 นำผลการศึกษาในส่วนที่ 1 ไปสังเคราะห์ร่วมกับเป้าหมายตัวชี้วัดของแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ปี 2560-2579 และจัดทำกลยุทธ์การพัฒนา PISA ประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ แบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร ครู และนักเรียน แบบสอบถามความคิดเห็นและเจตคติของนักเรียน ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ ไอซีที ตารางสังเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา ตารางวิเคราะห์การจัดทำกลยุทธ์การพัฒนาการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งต่อผลการประเมินโครงการ PISA ของประเทศไทย ประกอบด้วย 1) ทัศนคติ แรงจูงใจและวิธีการเรียนของนักเรียน 2) ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ปกครอง 3) การรับนักเรียนเข้าเรียนและการแบ่งกลุ่มนักเรียนในการเรียน 4) อำนาจอิสระในการบริหารโรงเรียน 5) ปัญหาครูและวิธีการพัฒนาครู 6) การบริหารทรัพยากรการเรียน 7) บรรยากาศและพฤติกรรมทางการเรียน 8) ระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน 9) นโยบายการศึกษาและการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จากปัจจัยดังกล่าวนำไปกำหนดกลยุทธ์แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย ประกอบไปด้วย 1) กลยุทธ์การพัฒนาผู้เรียน 2) กลยุทธ์การบริหาร และ 3) กลยุทธ์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา            This study aimed to 1) study the factors that had influenced Thailand’s PISA achievement and 2) arrange the suggestion for Thai educational quality development. The research methodologies had been operated by 4 steps. The first step was to interview the administrator of PISA Thailand, five responsible officers, and 14 PISA supervisors in Educational Service Area. The second was to study the research documents and related theories. In addition, OECD’s PISA study report and surveys had been synthesized since 2000-2015. In the third step, the results from step 1 and 2 had been analysed and organized the school data storage by interviewing the school administrators, teachers, and students in 5 OBEC schools (Office of the Basic Education Commission), 3 municipality schools, one private school, one vocational school, and one university demonstration school. Furthermore, the research results had been deducted to manage Thai PISA educational development plan. The instruments consisted of the questionnaire for administrators, teachers and students, the skills and attitude inventory test of students in literacy, mathematics, science and ICT, the table of factors influencing educational development, and the table of the analysis of educational development plan. The uses of statistics in this research were frequency and percentage.          The findings showed that the factors influencing Thai educational quality were 1) learning ability, 2) parents’ socio-economic status 3) selecting and grouping students 4) school autonomy 5) teacher quality and teacher development 6) learning resources management 7) learning environment and learning behavior 8) school internal quality assurance 9) the policies of education and integration between departments of educational quality development. In order to make suggestion in policy level for upgrading Thailand's PISA Achievement, SWOT analysis had been operated to analyze the National Education Development Plan.           From the discussion, the nine factors that affected Thailand’s PISA achievement had been synchronized to the indicators of National Education Plan for enhancing students' learning ability and increasing the effectiveness of school management and teaching potential development.

Downloads