การจินตภาพทางการกีฬา

Authors

  • ธนิดา จุลวนิชย์พงษ์

Keywords:

จินตภาพ, กีฬา, แง่จิตวิทยา, นักกีฬา

Abstract

การจินตภาพ (Imagery) หรือการนึกภาพ (Visualization) เป็นทักษาทางจิตวิทยาการศึกษาที่ใช้ในการฝึกเพื่อเพิ่มความสามารถในการเล่นกีฬา หรือใช้เพื่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย การจินตภาพจะช่วยให้นักกีฬานึกถึงภาพตัวเองในสถานการณ์หนึ่ง หรืการปฏิบัติกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง การนึกภาพควรให้นักกีฬานึกถึงความสามารถที่ทำได้ดีมาก และประสบความสำเร็จ ควนเป็นภาพที่เห็นตนเองกำลังแพลิดเพลินกับการทำกิจกรรมนั้น และพึงพอใจกับความสามารถของตนเอง การจินตภาพควรพยายามที่จะเติมความรู้สึกต่างๆ ลงไปในภาพ เช่น การมองเห็น ได้ยินเสียง ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว การสัมผัส ได้กลิ่น การรู้รส และการปฏิบัตินั้นเหมือนกับได้ปฏิบัติในชีวิตจริง ดังนั้น การจินภาพ จึงหมายถึง การมองเห็นภาพด้วยตาของใจ โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดในการสร้างหรือรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างประสบการณ์ให้เกิดขึ้นในใจ การจินตภาพ หรือ การนึกภาพ ทั้งสองคำแม้จะเรียกต่างกันแต่มีวิธีคล้ายกันคือ 1) เป็นการใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดในการที่จะสร้าง หรือรวบรวมเพื่อการสร้างประสบการณ์ให้เกิดขึ้นในใจ (Create or re-create an Experience in the mind) การนึกภาพเหตุการณ์ที่ผ่านมา (Recreate) หรือสร้างภาพใหม่ (Create) ขึ้นในใจเพื่อให้เข้าใจสาเหตุลำดับวิธีการ และเตรียมคิดหาวิธีการป้องกันและแก้ไข โดยเริ่มจากการสร้างภาพในใจก่อนแล้วจึงปกโดยการรับรู้ถึงตำแหน่งต่างๆ ของการแสดงทักษะที่ถูกต้อง ซึ่งสามารถสรุปการใช้พลังงานกล้ามเนื้อในการปฏิบัติทักษะได้อย่างแม่นยำด้วย 2) หมายถึง การมองเห็นได้ด้วยตาของใจผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ 2.1) การได้ยิน (Auditory) ซึ่งเกี่ยวกับเสียง เช่น การรับรู้ถึงเสียงปล่อยตัวของนักกรีฑา  2.2) การได้กลิ่น (Olfactory) ซึ่งเกี่ยวกับกลิ่น เช่น การรับรู้กลิ่นคลอรีนของนักว่ายน้ำ  2.3) การสัมผัส (Tactile) เกี่ยวกับการรับรู้จากการสัมผัส เช่น การรับรู้ถึงการปะทะกับลูกวอลเลย์บอลในขณะตบลูก 2.4) การรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว (Kinethetic) ซึ่งเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การรับรู้ถึงการรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การรับรึ้งการเคลื่อนไหวขณะลอยตัวในอากาศของนักยิมนาสติก หรือการรับรู้ของการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแขนและขานักกีฬาเมื่อยิงลูกบาสเกตบอล  2.5) การรู้รส (Taste) เกี่ยวกับการรับรู้รสโดยทางลิ้น เช่น รสเค็มของเหงื่อจากการแข่งขัน  การรับรู้ต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้นักกีฬาสร้างภาพในใจชัดเจนมากขึ้น เมื่อสร้างภาพได้ชัดเจนก็จะช่วยให้การฝึกได้ผลยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น นักกีฬาว่ายน้ำที่ใช้จินตภาพเพื่อเตรียมตัวในการแข่งขัน 1 เดือนข้างหน้า เธอเริ่มจินตภาพการว่ายน้ำด้วยความมั่นใจ ในขณะที่เธอเป็นผู้นำทีมเข้าสู่ชัยชนะในการแข่งขันครั้งแรกนี้ของเธอ เธอเริ่มฝึกจินตภาพด้วยการมองเห็นตัวเองกระโดดน้ำ เธอรู้สึกถึงพลังขิงเท้าในการเตะ และผลักดันตัวเองให้ชนะในการแข่งขันที่ผ่านมา เธอดิ้นเสียงน้ำที่ไหลผ่านตัวเองและเสียงเชียร์จากข้างสนาม จากการรับรู้สัมผัสต่างๆ ประกอบกันนี้ ทำให้นักกีฬาผู้นั้นสามารถจินตภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในการแข่งขัน นอกจากนี้นักกีฬาในระดับยอดเยี่ยวที่ประสบความสำเร็จจากการใช้จินตภาพเพื่อการแข่งขัน เช่น  เกร็ก ลูกานิส นักกีฬากระโดดน้ำ แชมเปี้ยนโอลิมปิกปี 1988 นึกมองเห็นภาพตัวเองกำลังแสดงการกระโดดจากมุมมองที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดและใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ (การมองเห็น, ความรู้สึก, การได้ยินเสียง) เข้ามองเห็นในสิ่งที่เข้ามองเห็นด้วยความรู้สึกว่าเขากำลังทำสิ่งนั้นจริงๆ ได้ดีเช่นเดียวกับการมองเห็นได้ชัดเจนจากข้างสระ (ราวกบว่าเขาเป็นโค้ช/ กรรมการการตัดสิน/ หรือการมองเห็นจากกล้องวิดีโอ) การรับรู้ถึงการสัมผัสของเท้ากับท่ากระโดดของนักกระโดดน้ำพร้อมๆ กัน กับกลิ่นคลอรีนในสระช่วยให้เขานึกภาพการกระโดดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  แจ็ค นิสิส นักกีฬากอล์ฟมืออาชีพ ใช้การนึกภาพทุกครั้งที่เขาตี ใช้ประสามสัมผัสทั้งในการมองเห็นและความรู้สึกเขาส่งต่อไปยังการฝึกจินตภาพราวกับว่าเป็นการดูหนังมันทำให้เขาสามารถเล่นและเล่นซ้ำอีกครั้งแล้วครั้งเล่า แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดต่างๆ และเพิ่มความเชื่อมั่นขึ้นด้วย ความแม่นยำของการทดลอง ในแต่ละครั้ง

Downloads

Published

2021-06-25