การพัฒนาแบบประเมินความคาดหวังและคุณค่าของความสำเร็จในการกีฬา

Development of Expectancy-Value model of achievement choice in Sport Questionnaire

Authors

  • อภิญญา ดัชถุยาวัตร
  • นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร.
  • พิชิต เมืองนาโพธิ์
  • ภัทรพร สิทธิเลิศพิศาล

Keywords:

กีฬา, จิตวิทยา, ความคาดหวัง, เครื่องมือทางจิตวิทยาการกีฬา

Abstract

          ความคาดหวัง เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อแรงจูงใจและเป็นส่วนหนึ่งของแรงจูงใจที่ส่งผลเกี่ยวข้องกับการแสดงความสามารถสูงสุดในนักกีฬา แต่ยังไม่ปรากฏว่ามีเครื่องมือวัดระดับของความคาดหวังในทางการกีฬาที่เป็นแบบทดสอบมาตรฐานสำหรับคนไทย การวิจัยครั้งนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบประเมินความคาดหวังและคุณค่าของความสำเร็จในการกีฬา ตามโครงสร้างทฤษฎีความคาดหวังและการให้คุณค่า (Expectancy-Value Theory) ฉบับภาษาอังกฤษของ Eccles และคณะ (1983) พัฒนามาเป็นแบบประเมินความคาดหวัง ต่อการกีฬา ฉบับภาษาไทย ที่มีคุณภาพของแบบประเมิน ด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาความเที่ยวตรงเชิงโครงสร้างและความเชื่อมั่น โดยแบบประเมินประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 12 ข้อ มีลักษณะตัวเลือกเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 7 ระดับ นำแบบประเมินไปทดสอบด้วยวิธีการทดสอบซ้ำใน 1 สัปดาห์ กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักกีฬาของโรงเรียนกีฬา จำนวน 36 คน ทดสอบความเชื่อถือได้ของเครื่องมือด้วยวิธีทดสอบซ้ำและครอนบาคอัลฟาวิเคราะห์ข้อคำถามทั้ง 2 องค์ประแกอบ คือ 1) ความคาดหวังและความเชื่อ 2) การให้คุณค่าของความสำเร็จและวิเคราะห์ทั้งฉบับ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลการศึกษาพบว่า แบบประเมนความคาดหวังและคุค่าของความสำเร็จทางการกีฬา มีความเชื่อถือได้ของเครื่องมือจากวิธีการทดสอบซ้ำ (r = .82) ส่วนค่าความเชื่อถือได้พบว่า ค่าความสอดคล้องภายในอยู่ในเกณฑ์ที่ดี (α = .90) เมื่อทำการวิเคราะห์แยกเพศ ผลการวิเคราะห์พบว่า ทั้งสององค์ประกอบไม่แตกต่างกัน (p = .79) และเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกลุ่มที่เคยได้เหรียญรางวัลและไม่เคยได้รับเหรียญรางวัล พบว่าในส่วนของการให้คุณค่าและผลรวมทั้ง 2 องค์ประกอบ แตกต่างกัน (p = .02) แต่ในส่วนของความคาดหวังและความเชื่อ ไม่แตกต่าง (p = .10) ดังนั้นแบบประเมินความคาดหวังและคุณค่าความสำเร็จทางการกีฬา ที่พัฒนาขึ้นมานี้มีมาตรฐานสามารถนำไปเป็นเครื่องประเมินของความคาดหวัง และการให้คุณค่าทางการกีฬาได้เป็นอย่างดี     Expectation is an important factor of motivation that effects to peak performance. A standard expectancy test for athietes is not yet found in Thailand. The purpose of this study was then to develop the Expectancy-Value of Achievement Questionnaire for Thai athietes according to the model of Expectancy-Value Theory (Eccie et al., 1983). The questionnaire which represented the domains of the Ecce’s expectancy-Value model was designed to measure expectancy-related beliefs and subjective task value in athletes. The questionnaire was taken, adapted and developed into Thai. The Questionnaire consisted of 12 items with 7 – point Likert scale; it was tested with test-retest design of 1 week with 36 sports school athletes. Internal consistency with cronbach’s alpha was used for analysis. The results of the study were found that the Expectancy-Value Model of Achievement Chioce in Sport Questionnaire showed good reliability and validity at test-retest  reliability for correlation with first and second test (r = .82) and it also showed good internal consistency with Cronbach’s alpha coefficient of the first and second tests (α = .90). The result also showed that no gender differences in expectancy-related beliefs and subjective task values (p = .02). Otherwhile, expectancy-related belief in medalists also not difference. (p = .10). Thus, this Expectancy-Value of Achievement Choice in sport Questionnaire beliefs and subjective task value.

Downloads

Published

2021-06-25